“เครื่องมือการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน : นิติกรรมทางแพ่ง”
(หมายเหตุข้อมูลส่วนหนึ่ง ในตำรา หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน)
การที่จะเข้าใจหลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับนิติวิธีกฎหมายมหาชน เกี่ยวกับการก่อตั้งนิติสัมพันธ์กฎหมายมหาชน จำเป็นต้องทำความเข้าใจในหลักคิดการเข้าใจการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามหลักกฎหมายเอกชน ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร
วันนี้ขออธิบายเครื่องมือการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน คือ นิติกรรมทางแพ่ง
การแสดงเจตนาของบุคคลในการก่อนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนของประเทศไทยได้วางหลักไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 คือ “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อ การผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” มีข้อพิจารณาดังนี้
1. การกระทำแสดงเจตนาในการก่อนิติสัมพันธ์ หมายความถึง การกระทำอันแสดงเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ การใช้นิติกรรมเป็นเครื่องมือสร้างผลในกฎหมาย จึงกำหนดว่าจะต้องได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นโดยกิริยาวาจาหรือคำพูดขีดเขียนไว้ ซึ่งหากเพียงแต่นิ่งคิดไว้ในใจ ไม่อาจเป็นนิติกรรมได้ เช่น หากต้องการทำพินัยกรรมก็ต้องขีดเขียนจัดทำขึ้นเป็นเครื่องหมายแสดงถึงเจตนา หรือหากกรณีต้องการทำสัญญาก็ต้องแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองขึ้นระหว่างกัน เป็นต้น
ดังนั้น คำว่า “กระทำ” มีความหมายได้กว้าง ซึ่งการแสดงเจตนาทำนิติกรรม หมายความรวมถึงการกระทำอย่างอื่นใดที่ทำลงพอจะเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนาได้ ก็นับว่าเป็นการแสดงเจตนา ทำนิติกรรมได้เช่นกัน โดยปกติการทำนิติกรรมย่อมกระทำลงด้วยกิริยาวาจาหรือด้วยลายลักษณ์อักษร เป็นการแสดงออกถึงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง การนิ่งหรืองดเว้นไม่กระทำ ไม่ถือเป็นการแสดงเจตนา ทำนิติกรรม แต่การนิ่งในพฤติการณ์พิเศษบางอย่างที่ควรจะบอกกล่าวออกมา อาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมได้ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 “เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้นถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้ว ไม่ทักท้วง ให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา”
2. การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่บุคคลได้กระทำลงต้องเป็นการที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อความนี้แสดงถึงขอบเขตจำกัดในความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา โดยปกติเมื่อแสดงเจตนาออกมา ต้องการผลในกฎหมายอย่างไร ก็เกิดผลในกฎหมายขึ้นได้อย่างนั้น แต่ถ้าผลที่ต้องการนั้น ต้องด้วยข้อจำกัด ข้อห้ามของกฎหมาย แม้จะมีเจตนาตั้งใจก็เกิดผลฝ่าฝืนต่อข้อจำกัดข้อห้ามของกฎหมายนั้นไม่ได้ คือ เข้าหลักที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมบันดาลให้เป็นไปได้ตามความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาเว้นไว้แต่ที่กฎหมายห้าม ซึ่งข้อนี้เป็นหลักขัดขวางเจตนา
การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีหลายประการแต่สรุปหลักสำคัญทั่วๆ ไปว่า ถ้าการกระทำใด ขัดต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนโดยตรงหรือโดยอ้อม การกระทำนั้นย่อมนับได้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนนั้น อาจเกิดจากนโยบายหลายอย่างต่างกันซึ่งอาจเป็นเรื่องที่กฎหมายวางขอบเขตไว้เพื่อประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นเรื่องกำหนดให้ต้องทำนิติกรรมตามแบบ เป็นหลักฐานปรากฏแน่นอน เพื่อป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนคนภายนอกที่มิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการทำนิติกรรมนั้นด้วย หรืออาจเป็นความประสงค์ที่จะป้องกันผู้หย่อนความสามารถในวัยวุฒิ สติปัญญา ความคิดรอบคอบ มิให้ต้องเสียเปรียบตกเป็นเหยื่อของคนอื่น ดังนั้นการกระทำใดๆ ที่ทำไปโดยฝ่าฝืนขัดต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนดังกล่าวมานี้ แม้จะได้ทำลงโดยมีเจตนามุ่งผลในกฎหมายสักเพียงใด ก็ไม่อาจเกิดผลขึ้นได้ หรือแม้จะเกิดผลขึ้นได้ก็อาจถูกยกเลิกเพิกถอนสิ้นผลไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. การก่อนิติสัมพันธ์ต้องกระทำด้วยใจสมัคร โดยในเบื้องต้นต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ คือ เจตนาความสมัครใจ ถ้าไม่มีเจตนา การที่ได้ทำไปจะเรียกว่า “เป็นกรรมของผู้กระทำ” ไม่ได้ การทำนิติกรรมเป็นการใช้เครื่องมือที่กฎหมายเอกชนได้มอบให้แก่บุคคลเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย สำหรับการสร้างนิติสัมพันธ์ต้องเป็นไปตามเจตนา เมื่อไม่มีเจตนาความต้องการสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย ก็ไม่ควรที่จะให้กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ เช่น กรณีคนเพ้อคลั่งเพราะพิษไข้หรือเด็กไม่รู้เดียงสาทำการใดไปจะเรียกว่า “มีเจตนาความสมัครใจทำการ” นั้นหาได้ไม่ เช่นเดียวกับเรื่องสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญของนิติกรรม คือ เจตนากับเรื่องที่เป็นอยู่ไม่ตรงกัน จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่า แต่ถึงแม้จะมีเจตนาความสมัครใจก็ตาม ถ้าความสมัครใจนั้นเกิดขึ้นโดยถูกกลฉ้อฉล หรือบังคับข่มขู่ ซึ่งโดยปกติหากไม่ตกอยู่ในบังคับเช่นนั้น บุคคลจะไม่สมัครใจทำนิติกรรม นิติกรรมที่ทำไปเช่นนั้นแม้จะสมบูรณ์ ก็ยังอาจบอกล้างเสียได้ ตกเป็นอันไร้ผลเช่นเดียวกัน ข้อนี้เกี่ยวกับหลักควบคุมเจตนา เพื่อที่จะได้เจตนาแท้จริงไม่มีข้อบกพร่องให้ผิดไปจากเจตนาแท้จริงมาบังคับ
4. การก่อนิติสัมพันธ์เป็นการกระทำที่มุ่งสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายต้องเป็น การกระที่ทำไปนั้นต้องมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์จะต้องไม่เป็นการกระทำที่บุคคลทำไปอาจไม่มุ่งต่อการผูกนิติสัมพันธ์ เช่น เรื่อง “เจตนาซ่อนเร้น” (Deliberately Hidden) คือ การที่บุคคลแสดงเจตนาออกมาโดยในใจจริงมิได้ตั้งใจจะผูกพันตามนั้น หรือเรื่องเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง “เจตนาลวง” (Intent to Deceive) คือ การที่บุคคล 2 ฝ่ายมาทำเป็นแสดงเจตนาต่อกัน โดยรู้กันดีว่าไม่ต้องการให้มี ความผูกพันกันเลย หรือ “นิติกรรมอำพราง” (Legal Camouflage) คือ ความผูกพันตามจริงมีอยู่อย่างหนึ่ง กลับแสดงเจตนาเป็นอีกอย่างหนึ่งปกปิดไว้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่มุ่งผลในกฎหมาย และไม่มีความสมัครใจจะผูกพันตามนั้นเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า การใดที่มุ่งผลในกฎหมายนั้นเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ที่ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความตั้งใจที่จะให้มีผลผูกพันในกฎหมายอย่างแท้จริง ดังนั้นกรณีการพูดล้อเล่น หรือการแสดงเจตนาใด ๆ ที่เป็นการปฏิบัติต่อกันทางสังคมหรืออัธยาศัยไมตรีต่อกัน ที่มิได้มุ่งให้มีผลในทางกฎหมาย การแสดงเจตนาดังกล่าวนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดนิติกรรมแต่อย่างใด
5. การกระทำที่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คำว่า “บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกันตามหลักความเสมอภาคอันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายเอกชน โดยอาจทำเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว คือ การที่บุคคลหนึ่งฝ่ายเดียวผูกมัดตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น พินัยกรรม การให้คำมั่นจะให้รางวัล คำมั่นจะขาย ปลดหนี้ การเลิกสัญญา หรือการทำนิติกรรมหลายฝ่าย คือ มีฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอและอีกฝ่ายทำคำสนอง เมื่อคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน จึงเกิดนิติกรรม 2 ฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกอีกอย่างว่า “สัญญา” (Contract) เช่น สัญญา แต่ละลักษณะตามบรรพ 3 เอกเทศสัญญา แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สาระสำคัญตามมาตรา 149 นี้เพื่อจำกัดความหมายให้นิติกรรมเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มิใช่หมายถึงความผูกพันระหว่างบุคคลกับสัตว์หรือวัตถุอื่น ที่ไม่อาจมีสิทธิหน้าที่อย่างใดได้ตามกฎหมาย เช่น กรณีการครอบครองปรปักษ์ แม้เป็นการกระทำที่สร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย และผลในกฎหมายก็เกิดขึ้น คือ เกิดสิทธิแก่บุคคลที่เข้าครอบครองนั้น แต่การกระทำเช่นนั้นหาเป็นนิติกรรมไม่ เพราะเป็นการมุ่งไปในทางที่จะยึดถือใช้อำนาจในทรัพย์ เมื่อไม่ได้ตั้งใจโดยตรงที่จะผูกนิติสัมพันธ์ให้เกิดสิทธิหน้าที่ขึ้นในระหว่างบุคคล การที่ทำไปจึงไม่ใช่นิติกรรม เป็นต้น
6. การสร้างนิติสัมพันธ์เป็นการกระทำที่เป็นการเคลื่อนไหวในสิทธิการก่อสิทธิเหนือบุคคล คือ “บุคคลสิทธิ” หรือเรียกว่า “สิทธิเรียกร้องหนี้” หมายถึง การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการก่อสิทธิเหนือบุคคลหรือบุคคลสิทธินี้ ย่อมอยู่ในอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาที่จะทำนิติกรรมเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการได้ โดยจะกำหนดให้มีลักษณะอย่างใดก็สามารถกำหนดภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพราะเป็นการผูกพันกันระหว่างบุคคลโดยจำกัดแน่นอนเป็นเวลาชั่วคราว และโดยมากเป็นไปโดยสมัครใจที่จะให้เกิดความผูกพันกันโดยลักษณะสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นการก่อตั้งกำหนดลักษณะของ “ทรัพยสิทธิ” ซึ่งเป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งทรัพย์สิทธินั้นเป็นสิทธิที่มีอำนาจมากกว่าบุคคลสิทธิเพราะผูกพันโดยไม่มีกำหนดเวลาและไม่ต้องอาศัยเจตนาความสมัครใจของผู้ที่จะถูกบังคับ อำนาจที่จะก่อตั้งกำหนดลักษณะของ “ทรัพยสิทธิ” จึงตกอยู่แก่กฎหมาย การก่อความเคลื่อนไหวในสิทธิย่อมเป็นไปตามเจตนาของบุคคล โดยจะเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือบุคคลไม่จำกัดลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาหรือนอกบรรพ 3 ดังกล่าวก็ได้ หรือจะเป็นการก่อให้เกิดทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่นในทางแพ่งตามที่กฎหมายรับรอง เช่น ทำสัญญาซื้อขาย สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาให้ ให้ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือก่อให้เกิดภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิในกฎหมายครอบครัว และมรดก เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงลักษณะความเคลื่อนไหวในสิทธิ อาจจำแนกได้ 5 ประการ คือ ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ ระงับสิทธิ กระทำได้โดยอาศัยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาที่แสดงออกโดยนิติกรรม และต้องมุ่งหมายโดยตรงต่อการสร้างนิติสัมพันธ์ เห็นได้ว่านิติกรรมเป็นเครื่องมือก่อความเคลื่อนไหวในสิทธิได้หลายประการ นิติกรรมมีความหมายกว้างกว่า “สัญญา” (Contract) ซึ่งเป็นมูลก่อให้เกิดสิทธิเท่านั้น นิติกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายได้มากกว่านั้น โดยจะใช้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิด้วยก็ได้ย่อมกล่าวได้ว่า “นิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ในกฎหมายได้ตามเจตนา”
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過17萬的網紅Mr.Halogogo,也在其Youtube影片中提到,facebook เพจ : https://www.facebook.com/Mr.Halogogo/ -------------------------------------------------------------------------------------------------...
「นิติกรรม」的推薦目錄:
- 關於นิติกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於นิติกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於นิติกรรม 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
- 關於นิติกรรม 在 Mr.Halogogo Youtube 的最讚貼文
- 關於นิติกรรม 在 หลักกฎหมาย นิติกรรม - YouTube 的評價
- 關於นิติกรรม 在 สถาบันติวกฎหมาย Ohm's Law (โอห์ม ลอว์) - #นิติกรรม ... - Facebook 的評價
นิติกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
หลักคิดในทางกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชน (Private Law) คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในฐานะเท่าเทียมกันว่าด้วยนิติสัมพันธ์ด้วยความสมัครใจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ดังนั้นนิติวิธีทางกฎหมายเอกชน (Legal Method of Private Law) คือ กระบวนการคิดหรือวิธีคิดอย่างเป็นระบบในทางกฎหมายเอกชนที่มีหลักการคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายโดยที่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนเอง แต่การแสดงเจตนาของบุคคลนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักความเสมอภาคและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนที่ต้องเกิดขึ้น โดยความสมัครใจภายใต้หลักเสรีภาพในการทำสัญญา ที่เรียกว่า “นิติกรรม” (Juristic Act) แต่ทั้งนี้เสรีภาพแห่งการ แสดงเจตนานั้นต้องกระทำภายใต้หลักสุจริตและต้องไม่เป็นการกระทำที่พ้นวิสัย ไม่ขัดกับหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งนำไปสู่หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาที่รัฐต้องออกกฎหมายรับรองบังคับให้ตามเจตนานั้น
แต่อย่างไรก็ตามยังมีนิติวิธีกฎหมายเอกชนอีกประการหนึ่งของการเกิดนิติสัมพันธ์ที่ไม่ได้เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสมัครใจในการสร้างนิติสัมพันธ์แต่กฎหมายกำหนดให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น คือ “นิติเหตุ” (Proximate Cause) เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง เป็นต้น
นิติกรรม 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
แอดมินเพจสำนักงานกิจการยุติธรรมฝากมา ช่วงนี้มีประเด็นเรื่องผู้เยาว์กับสัญญา บลุาๆ เขาเลยอยากให้อ่านว่าผู้เยาว์จะทำสัญญาได้ยังไง ทำได้แค่ไหน ลองอ่านจ้า
"เด็ก" ทำสัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน หรือพินัยกรรมสัญญาหรือนิติกรรมได้มั้ย ?
ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย แล้วแบบนี้ถ้าทำสัญญาหรือนิติกรรม จะมีผลอย่างไร ?
กฎหมายน่ารู้ 79 : ผู้เยาว์ (เด็ก) ทำนิติกรรม-สัญญาได้แค่ไหน?
นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคล โดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจผูกสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับสิทธิ และมุ่งต่อผลในกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้ และพินัยกรรม เป็นต้น
Q : อายุเท่าไหร่ทำนิติกรรม-สัญญาได้
A : ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
(1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
(2) อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) และพอแม่/ผู้ปกครองทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม
(3) อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอนุญาตให้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีเหตุสมควร/จำเป็น (ตั้งครรภ์)
A : ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม-สัญญาด้วยตนเองลำพังไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง)
(1) เป็นหนังสือ
(2) วาจา
(3) ปริยาย เช่น รับรู้/ไม่ทวงติ่ง-ว่ากล่าว/ให้คำปรึกษา/ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา/ช่วยติดต่อเป็นธุระให้
A : ถ้าไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรม-สัญญาจะตกเป็น “โมฆียะ”
(1) มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกเลิกสัญญา
(2) ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกนิติกรรม-สัญญาได้
(3) ผู้แทนโดยชอบธรรมยืนยันการทำนิติกรรม-สัญญาได้
Q : นิติกรรม-สัญญาแบบไหน ? ที่ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้
A : (1) กิจการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสียหาย (เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หาโดยไม่มีค่าตอบแทน)
(2) กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว (เช่น การรับรองเด็กเป็นลูก หรือเข้าสู่พิธีสมรส)
(3) กิจการที่สมควรแก่ฐานานุรูป (ฐานะ) จำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร (เช่น ซื้อขนม เครื่องเขียน)
(4) ทำพินัยกรรม เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมตกเป็น “โมฆะ” (ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย)
#กฎหมายน่ารู้ #เด็ก #ผู้เยาว์ #สัญญา #นิติกรรม #พ่อ #แม่ #ผู้ปกครอง #คดีแพ่ง #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รุ้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น
นิติกรรม 在 Mr.Halogogo Youtube 的最讚貼文
facebook เพจ : https://www.facebook.com/Mr.Halogogo/
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ช่วยกด subscribers เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมหน่อยนะครับ
http://www.youtube.com/channel/UCE5jveSfiagnMWhHdHtjLQQ?sub_confirmation=1

นิติกรรม 在 สถาบันติวกฎหมาย Ohm's Law (โอห์ม ลอว์) - #นิติกรรม ... - Facebook 的推薦與評價
นิติกรรม #นิติกรรมอำพราง #เนติบัณฑิต #เนติภาคหนึ่ง #สอบผู้ช่วยผู้พิพากษา #สอบอัยการผู้ช่วย คำถาม :... ... <看更多>
นิติกรรม 在 หลักกฎหมาย นิติกรรม - YouTube 的推薦與評價
ประกอบด้วย0:20 ความสำคัญของ นิติกรรม 1:44 ความหมายและหลักการสำคัญของ นิติกรรม 10:35 ลองตอบว่าการกระทำใดบ้างเป็น นิติกรรม 15:00 ... ... <看更多>