ฟันธงดวงชะตาเดือนพฤศจิกายน โดยหมอลักษณ์ฟันธง
คุณที่เกิดลัคนา / ราศีมิถุน
หรือ คุณที่เกิดระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน ถึงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม
เดือนแห่งการเผชิญปัญหาและอุปสรรค ต้องตั้งสติ ระวังการคิดผิดทำผิด เพราะความไว้ใจ สร้างบุญสร้างกุศลเป็นเครื่องคุ้มครองดวงชะตา จะผ่านพ้นเหตุเภทภัยในทุกประการ ... ฟันธงครับ !!!
การงาน ..มุมของการงานมีเกณฑ์ผิดพลาด มีปัญหา มีอุปสรรค ต้องระวังคำพูด จนเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิด มีปัญหากับเจ้านาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน พูดให้น้อย ๆ ทำงานให้มาก ๆ จะเป็นการดีที่สุดครับ เรื่องเอกสาร นิติกรรมสัญญา ต้องตรวจสอบให้รอบคอบ รัดกุม งดการลงทุนขยับขยาย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำแล้วไปไม่ได้ ให้หยุด แล้วหาจุดที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ในเดือนนี้ต้องตั้งสติให้ดี ลงมือทำงานด้วยตนเอง อย่าไว้ใจใคร อย่าทำอะไรใหม่ ๆ ทำหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีที่สุดเป็นพอครับ
การเงิน ..มีรายจ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งรายจ่ายส่วนตัว รายจ่ายในครอบครัว หรือรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการงาน การลงทุน ต้องวางแผนการเงินให้ดี อย่าประมาท แล้วจะหาว่าผมไม่เตือนไม่ได้นะครับ
ความรัก ..มีเกณฑ์พลัดพราก ห่างไกลกับคนรัก เกิดความเข้าใจผิด หรือมีเกณฑ์ที่จะมีมือที่สามเข้ามาแทรกแซง ทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่พังทลายลง ต้องระวังกายใจของตนเองให้ดี โดยเฉพาะคนที่มีครอบครัวแล้ว
สุขภาพและอุบัติเหตุ.. มีเกณฑ์การเจ็บไข้ได้ป่วย เกี่ยวกับระบบลำไส้ ระบบภายในทั้งหมด หาเวลาไปตรวจร่างกายบ้างจะเป็นการดี ส่วนเรื่องอุบัติเหตุ คุณแคล้วคลาดปลอดภัย
มงคลเสริมดวงชะตา ..ในเดือนนี้ คุณควรมี เหรียญพระสุนทรีวาณี ของเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร บูชาไว้ประจำตัว แล้วอาราธนาพระคาถา “มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทรี ปาณีนัง สะระนัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง” เป็นพระคาถา ที่จะทำให้คุณมีสมาธิ เกิดสติ และปัญญา ทำให้คุณมีสติแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้ด้วยดีครับ
*** ติดตามคำพยากรณ์ฉบับสมบูรณ์ เจาะลึกทั้งภาพรวมตลอดทั้งเดือน และเจาะลึกดวงรายวัน ในหนังสือ "ฟันธง 12 ราศี ปี 2557 ฉบับครึ่งปีหลัง " วางจำหน่ายแล้วที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทั่วประเทศ
หรือตรวจดวงชะตากับทีมงานโหรฟันธง คุยสด ๆ แบบตัวต่อตัว โทร.1900 111 030 (นาทีละ 15 บาท) ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-23.00 น.
「นิติกรรมสัญญา」的推薦目錄:
- 關於นิติกรรมสัญญา 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳解答
- 關於นิติกรรมสัญญา 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文
- 關於นิติกรรมสัญญา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於นิติกรรมสัญญา 在 กฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรม วันที่ 14 ก.ค.63 - YouTube 的評價
- 關於นิติกรรมสัญญา 在 นิติกรรมสัญญา... - สำนักพิมพ์วิญญูชน จำหน่ายหนังสือกฎหมาย 的評價
นิติกรรมสัญญา 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文
เมื่อพุธจรเจอเงาราหู////เรื่องใหญ่ของชาวโหราศาสตร์ ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ในยามท่ีดาวพุธกับราหูโคจรสัมพันธ์กัน ในปีนี้ท่ีน่าสนใจสุดๆในช่วงวันท่ี25สิงหาคมถึงวันท่ี2พฤศจิกายน อะไรคือเรื่องท่ีน่าสนใจ ประการแรก คือดวงเมือง เหตุการณ์เรื่องราวในบ้านเมือง ปรากฏการณ์ต่างๆ กระแสและเรื่องราวท่ีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ประการท่ีสองคือปรากฏการณ์ท่ีมีผลดวงใน12ราศีตามสถิติและหลักวิชาโหราศาสตร์ ในโพสต์นี้ขอเขียนถึงเรื่องดวงเมืองก่อนครับ ดาวพุธในดวงเมืองคือ เรื่องข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพย์ การสื่อสารทุกรูปแบบ ข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ นิติกรรมสัญญา คดีความ ภัยอันเกิดจากข่าวลือข่าวลวง การหลอกลวงระดับชาติ ภัยจากสัตว์ท่ีมีเขี้ยวเล็บ สุนัข แมว จรเข้ การจารกรรมขัอมูล การใชัเทคโนโลยีจารกรรมปล้นหลอกลวง ความลับข่าวฉาวโด่งดังและส่งผลกระทบรุนแรงต่อความเชื่อความศรัทธา คอยติดตามเรื่องราวของวงการสงฆ์ เรื่องของวงการโทรทัศน์ไทย และเรื่องอื่นๆจะทยอยตามมา ประชาชนต้องมีสติ อย่าตื่นไปกับข่าวลือ อย่าตกใจไปกับเรื่องราวท่ีเกิดขึ้น ระวังการถูกหลอกลวงในทุกทาง งดการทำนิติกรรม ระวังเอกสารสัญญาในทุกรูปแบบ ในขณะท่ีดาวพุธ(๔)จรเข้าราศีกันย์จ๊ะเอ๋กับ ราหู(๘)ตั้งแต่25สิงหาคมถึงวันท่ี2พฤศจิกายน และเจาะจงลงไปให้ชัดตอนท่ีองศาของดาวสองดวงนี้ใกล้กันมากท่ีสุดถึงองศาเท่ากันแยกให้เห็นชัดๆวันท่ี16กันยายน(วันหวยออก)ดาวคู่นี้เริ่มแรง(๔๘)องศาของพระราหูอยู่ที่ประมาณ25องศา พุธอยู่ท่ีประมาณ25องศา15ลิบดาและเกิดขึ้นอยู่จนถึงวันท่ี18กันยายนในลักษณาการท่ีองศาเท่ากัน เรื่องท่ีกล่าวข้างต้นจะเเรงเป็นพิเศษและเเรงมากต่อชาวราศีกันย์ ราศีมิถุนและท่านท่ีเกิดวันพุธกลางวัน วันพุธกลางคืน. พอเท่านี้ก่อนครับเดี๋ยวติดตามตอนต่อไปยังมีผลชัดๆต่อดวงทั้ง12ราศีอย่างไร รอติดตามนะครับ
นิติกรรมสัญญา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
สำหรับเรื่องหนี้เป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) มีความยิ่งใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายว่าด้วยหนี้ไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งแยกต่างหากไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ คือ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการงดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนเพื่อชำระหนี้ หนี้นั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนี้ว่าเป็นบุคคลสิทธิ
1.บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา (เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ) กับนิติเหตุ (เป็นหนี้ที่เกิดจากกฎหมาย)
บ่อเกิดแห่งหนี้ (มูลแห่งหนี้)
นิติกรรมสัญญา กฎหมาย(นิติเหตุ)
เอกเทศสัญญา บรรพอื่น สัญญาไม่มีชื่อ
จัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพอื่น กฎหมายอื่น
1.1 หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา เป็นการสมัครใจในการที่ก่อหนี้ขึ้นแบ่งออกเป็น 2
ประการ
1.1.1 หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา
หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา หมายความว่าคนสองฝ่ายมาทำกันกฎหมายตั้งชื่อไว้แล้วกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นสัญญาที่มีชื่อตามกฎหมายที่ตั้งไว้ มีอยู่ 22 สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท
1.1.2 หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น เช่น สมาคมในบรรพ1หรือตามบรรพ 5 ครอบครัว คือสัญญาก่อนสมรส, สัญญาระหว่างสมรสที่สามีภริยาทำกัน,สัญญาหมั้น เป็นต้น
1.1.3 สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3
สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3 บางคนเรียกสัญญานอกบรรพ 3 เช่น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญากองทุนสมรส เป็นต้น
1.2 หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย
หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย หนี้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจในการเกิดหนี้ขึ้น แบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
1.2.1 หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง
หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จัดการได้สอดเข้าทำกิจการของบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้กระทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนเขาได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนเสียไปเพราะจัดการงานนอกสั่ง
1.2.2 หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้
หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้ คือ การที่บุคคลใดได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ที่รับทรัพย์ย่อมเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนแก่เจ้าหนี้
1.2.3 หนี้ที่เกิดจากการละเมิด
หนี้ที่เกิดจากการละเมิด คือ การกระทำใด ที่กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายไม่ว่ากระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้เขาได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดหนึ่งอย่างใด การกระทำเช่นว่านั้นเข้าการกระทำละเมิด หรือเป็นการกระทำล่วงสิทธิผิดหน้าที่ ทำให้เขาเสียหาย ละเมิดนั้นอยู่บนหลักที่ว่าบุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายผู้กระทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หลักที่ใหญ่ที่สุดของการละเมิด คือ หลักที่ว่าละเมิดนั้น เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด กฎหมายทำให้เสียหายโดยตรง (Liability with fault) กับความรับผิดแม้ไม่ได้กระทำ (Liability without fault) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับทฤษฎีในเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดเกิดขึ้น 3 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีที่ 1 ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (Tortfeasur’s Liability) ซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง ซึ่งเป็นความผิดอาจเกิดจากใช้สิทธิของตนปกติตั้งแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนการไขข่าวแพร่หลายทำให้บุคคลเสียหาย เป็นต้น
2.ทฤษฎีที่ 2 ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำละเมิด(Vicarious Liability) ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเกณฑ์ให้รับผิดหากดูแล้วเหมือนไม่เป็นธรรมแต่ถ้าไม่เกณฑ์ก็ยิ่งไม่ยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิด คือ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างรับผิด ตัวแทนทำละเมิด ตัวการรับผิด ลูกศิษย์ทำละเมิดอาจารย์ต้องรับผิด คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องรับผิด บุตรผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาต้องรับผิด เป็นต้น
3.ทฤษฎีที่ 3 ความรับผิดเพราะคนที่มีความเกี่ยวพันกับผู้กระทำละเมิด (Strict Liability) คือ ความรับผิดที่เกิดขึ้นการที่ทรัพย์ซึ่งอยู่ความดูแลของตนไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น เจ้าของทรัพย์หรือผู้ดูแลทรัพย์ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงสัตว์ไว้แทนเจ้าของ ผู้ครอบครองโรงเรือน หรือเจ้าของ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรียน ผู้ครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น
1.2.4 หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบรรพอื่น เช่น สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน ทรัพย์สินมรดกใดถ้าไม่มีผู้ใดรับมรดกให้ตกเป็นของรัฐ รัฐจึงเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น
1.2.5 หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น
หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น เช่น หนี้ที่เกิดจากประมวลกฎหมายรัษฎากร คือ บุคคลผู้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อนำภาษีมาพัฒนาบ้านเมือง เป็นต้น
2.ผลแห่งหนี้
เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลแห่งหนี้ก็จะเกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้กับสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ซึ่งเราเรียกว่า เป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ การให้ลูกหนี้กระทำการการ งดเว้นกระทำการ และการโอนทรัพย์สิน หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ถูกต้องแล้ว หนี้ก็เป็นอันระงับไป แต่ปัญหาว่าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีมาตรการอย่างไรในการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ผูกพันที่มีอยู่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ของตน และเมื่อการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายได้นอกจากกฎหมายจะให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องของให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว กฎหมายยังได้คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้อีก โดยให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
ในกรณีเรื่องเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้น ฝ่ายลูกหนี้อาจเป็นลูกหนี้หลายคนหรือ ฝ่ายเจ้าหนี้อาจจะเป็นเจ้าหนี้หลายคนก็ได้ ซึ่งในกรณีเป็นลูกหนี้หลายคนร่วมกันผูกพันในอันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้นั้นเราเรียกว่าลูกหนี้ร่วม ผลแห่งการเป็นลูกหนี้ร่วมก็คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง การกระทำแทนการชำระหนี้หรือการหักกลบลบหนี้ร่วมคนใด ย่อมเป็นประโยชน์ แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดหนี้ การผิดนัดของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ
3.การชำระหนี้หรือการระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้นั้นหมายความว่าหนี้นั้นได้สิ้นสุดลงหรือได้ระงับลง ซึ่งการที่หนี้จะระงับลงได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 กรณี คือ การชำระหนี้ การปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืน
3.1 การชำระหนี้
การชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ถูกต้องตามวัตถุแห่งหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว หนี้ย่อมระงับหรืออาจเป็นกรณีบุคคลภายนอกจะชำระหนี้แทนลูกหนี้แต่การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะทำไม่ได้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำหรือขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
3.2 การปกลดหนี้
ปลดหนี้ คือ การทำหนี้สิ้นสุดลง เพราะเจ้าหนี้ได้ยินยอมยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ตัวหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือ หรือต้องเวนคืน เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3.3 การหักลบกลบหนี้
การหักกลบลบหนี้ คือเมื่อบุคคล 2 ฝ่ายมีความผูกพัน ซึ่งกันและกันโดยความผูกพันนั้น คือ หนี้ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้กัน และหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เพื่อให้หนี้ระงับเพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้
3.4 การแปลงหนี้ใหม่
แปลงหนี้ใหม่ ได้แก่ การระงับหนี้เก่า แต่มีหนี้ใหม่ขึ้นมาแทน
3.5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน
หนี้เกลื่อนกลืนกัน ได้แก่ กรณีซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
นิติกรรมสัญญา 在 นิติกรรมสัญญา... - สำนักพิมพ์วิญญูชน จำหน่ายหนังสือกฎหมาย 的推薦與評價
นิติกรรมสัญญา อาจารย์ศนันท์กรณ์ เหลือไม่มากค่ะ แอดหาได้เท่านี้ แอดมินเปิดสถานะในเว็บให้แล้ว ใครต้องใช้รีบเลยค่ะ!! ... <看更多>
นิติกรรมสัญญา 在 กฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรม วันที่ 14 ก.ค.63 - YouTube 的推薦與評價
Go to channel · กฎหมายเกี่ยวกับ สัญญา : การซื้อขาย ขายฝาก เช่าซื้อ วันที่ 17 ก.ค.63. DLTV13 Channel• ... ... <看更多>