========
Wildermyth: พลังของเรื่องเล่าและตํานาน
========
.
หนึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณคือการรังสรรค์เรื่องเล่าจำนวนมากในรูปเทพนิยาย ตำนาน และนิทานสอนใจ ใช้สอนคนรุ่นหลังในยุคมุขปาฐะที่มนุษย์เรียนรู้หลักๆ ด้วยวิธีการเล่าปากต่อปาก นานนับพันปีก่อนกำเนิดของแท่นพิมพ์ และสำหรับชาวกรีกโบราณ ผู้หายใจเข้าออกเป็นตำนาน พวกเขาก็หลงใหลในละครโศกนาฏกรรม (tragedy) ที่ถ่ายทอดชีวิตตัวละครไปถึงฉากจบอันแสนเศร้า เพราะเชื่อว่าละครที่ดีนั้นสามารถยกระดับจิตใจคนดู ชำระล้างให้บริสุทธิ์ ผ่านการเข้าถึงความหดหู่เศร้าหมองอย่างลึกซึ้งถึงแก่น
.
ชาวกรีกโบราณไม่อยากขานใครว่า “วีรบุรุษ” หรือ “วีรสตรี” ก่อนที่เขาหรือเธอจะตายจากไป เพราะอยากได้ประเมินการใช้ชีวิต “ทั้งชีวิต” ของคนผู้นั้นก่อน ว่าโดยรวมแล้วคู่ควรกับคำสรรเสริญเยินยอมากน้อยเพียงใด ชีวิตของเธอหรือเขาควรเป็น “ตำนาน” หรือไม่
.
ผู้เขียนคิดเรื่องนี้ระหว่างเล่น Wildermyth เกมสวมบทบาท (RPG) แนว Roguelike (สุ่มทั้งเหตุการณ์ แผนที่ ตัวละคร และเรื่องราวในเกม) จากสามีภรรยา Nate กับ Anne Austin ที่รวมตัวกันในชื่อ Worldwalker Games
.
นี่คือเกม RPG หน้าตาน่ารักน่าชังแต่ระบบการต่อสู้สุดมันส์และมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แต่เสน่ห์ที่ทำให้ Wildermyth โดดเด่นกว่า RPG เกมอื่นก็คือ จุดเน้นที่ “เรื่องราว” และ “พัฒนาการ” ของตัวละครในทีมเรา พวกเขาแต่ละคนเริ่มต้นจากการเป็นชาวนาชาวไร่ธรรมดาๆ ที่ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องจับจอบจับเสียมมาสู้รบปรบมือกับสัตว์ประหลาด ซึ่งในเกมนี้ก็ไม่ใช่ ก็อบลิน ออร์ค คนแคระ เอลฟ์ หรือเผ่าพันธุ์ตามขนบแฟนตาซีมาตรฐานในโลกตะวันตกที่เราคุ้นเคย แต่เป็นเผ่าพันธุ์แปลกใหม่น่าตื่นตา มีทั้งหมดห้าเผ่า บางเผ่าดูเหมือนฤาษีคลั่งลัทธิจากโลกใต้ดินอันเร้นลับ บางเผ่าเป็นหุ่นยนต์แนว steampunk อันเต็มไปด้วยปริศนา บางเผ่าดูเหมือนแมลงไปผสมพันธุ์กับมังกร (และมีพลังจิตอีกต่างหาก!) และบางเผ่าก็มีหน้าตาเหมือนสัตว์ประหลาดจากต่างดาว “ศัตรู” ที่เราต้องต่อกรด้วยเหล่านี้ล้วนแต่มีปูมหลังลึกลับน่าค้นหา ซึ่งจะค่อยๆ เผยออกมาระหว่างทาง จนสุดท้ายเราอาจค้นพบว่า พวกเขาไม่ใช่ “ศัตรู” คู่อาฆาตของเราแต่อย่างใดเลยก็ได้
.
เป้าหมายใหญ่ไม่ว่าเราจะเลือกเล่นแคมเปญไหนก็คือ ทีมนักผจญภัยของเราต้องพิทักษ์โลกแฟนตาซี ในเกมนี้ชื่อ Yondering Lands จากภยันตรายที่คืบคลานเข้ามา ระบบเกมสลับระหว่างฉากการวางแผนการเดินทางระหว่างเมืองต่างๆ ในโลก ฉากการต่อสู้แบบ tactical (เป็น turn-based ไม่ใช่เวลาจริงหรือ real-time) และฉากการเล่าเรื่องผ่านการ์ตูนช่องสองมิติ เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกในทีมของเราจะเก่งกล้าสามารถขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งอัพเลเวล เราจะได้เลือกหนึ่งในสามทักษะใหม่ที่ตรงกับคลาส (class) ของตัวละคร ซึ่งมีสามคลาส ได้แก่ นักรบ (ระยะประชิด) (warrior) นายพราน (แม่นธนู) (hunter) และ นักเวท (mystic) ใช้เวทเป็นอาวุธ
.
แคมเปญแต่ละแคมเปญในเกมแบ่งเรื่องออกเป็น “บท” จำนวนสามถึงห้าบท เราจะเดินทางระหว่างแคว้นต่างๆ ในโลกเพื่อเฟ้นหาสมาชิกใหม่มาร่วมทีม สร้างแนวป้องกันศัตรู ลาดตระเวนป้องกันศัตรู บุกโจมตีฐานที่มั่นของศัตรู สร้างทางเดินหรือสะพานไปสำรวจแคว้นใหม่ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาผลิตวัตถุดิบสำหรับสร้างหรืออัพเกรดอาวุธและเสื้อเกราะตอนจบแต่ละบท โดยจะได้โอกาสอัพเกรดก่อนประมือกับ “บอสใหญ่” ของแคมเปญด้วย ทุกภารกิจบนแผนที่โลกนี้เราสามารถส่งตัวละครในทีมตั้งแต่ 1-5 คนไปทำ ภารกิจบางอย่างต้องใช้คนมากกว่าหนึ่งคน ด้านบนของแผนที่โลกจะแสดงเค้าน์ท์เตอร์ (counter) นับเวลาถอยหลังสองอัน อันหนึ่งบอกเวลาที่ศัตรูจะบุกมาทำลายเมือง อีกอันนับถอยหลังเวลาที่ศัตรูจะเก่งขึ้นอีก (แต่มันก็เก่งขึ้นอัตโนมัติอยู่แล้วหลังการต่อสู้ทุกครั้ง)
.
ระบบการต่อสู้ของ Wildermyth สนุกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เราจะซูมลงมาดูทีมนักผจญภัยบนตารางคล้ายหมากรุก จะมองเห็นศัตรูก็ต่อเมื่อมันเดินเข้ามาในระยะสายตา แต่ละตาทีมเราจะเดินก่อน จากนั้นศัตรูจะเดิน แต่ละคนมี 2 แอ๊กชั่นให้ใช้ระหว่าง เดิน โจมตี หรือใช้ความสามารถอื่น ความสามารถบางอย่างต้องใช้ทั้ง 2 แอ๊กชั่น บางอย่างเป็น free action แต่ใช้ไม่ได้ทุกตา เป็นต้น นักรบ นายพราน และนักเวทล้วนท่าโจมตี ทักษะ และสไตล์การเล่นแตกต่างกัน แน่นอนว่านักรบควรอยู่ด่านหน้าเป็น “แทงก์” และปกป้องเพื่อนในทีม (ทักษะ “Guardian” หรือผู้คุ้มกัน ที่ให้โจมตีศัตรูอัตโนมัติที่เข้ามาใกล้ในระยะ 1×1 หรือ 2×2 มีประโยชน์มาก) นายพรานใน Wildermyth เป็นส่วนผสมระหว่าง ranger กับ rogue ในขนบ RPG ทั่วไป คือสามารถยิงธนูจากระยะไกลและอำพรางตัวไม่ให้ศัตรูมองเห็น
.
นักเวทนับเป็นคลาสที่สนุกที่สุดในเกมนี้ เพราะไม่ได้ร่ายเวทจากคัมภีร์เวทมนตร์เหมือน RPG ทั่วไป แต่นักเวทใน Wildermyth ร่ายเวทจากการ “Interfuse” หรือส่งพลังไป “หลอมรวม” กับเฟอร์นิเจอร์ ก้อนหิน ต้นไม้ กองไฟ หรือสิ่งของอื่นๆ ในฉาก จากนั้นค่อยใช้ท่าโจมตีที่ใช้ลักษณะเด่นของสิ่งที่ไปหลอมด้วย เช่น ถ้าเป็นพุ่มไม้ก็ยิงหนามแหลม ถ้าเป็นไฟก็ยิงลูกไฟ ถ้าเป็นตู้ไม้ก็ยิงเศษไม้ใส่ เป็นต้น และเมื่อนักเวทอัพเลเวล ท่าโจมตีเหล่านี้ก็จะได้อัพเกรดทั้งความแรงและท่าใหม่ๆ ที่สนุกสนานกว่าเดิมอีก
.
ทุกครั้งที่เราจบการต่อสู้ ศัตรูที่เราประมือด้วยก็จะเก่งขึ้นอีก อาจจะมีพลังชีวิตมากขึ้น มีเกราะมากขึ้น หรือมีสัตว์ประหลาดชนิดใหม่ในเผ่ามาร่วมรบ เราไม่มีทางกดไม่ให้มันเก่งขึ้น ต่างจากการลดเคาท์น์เตอร์เรื่องความเก่งของศัตรูบนแผนที่โลก ทุกครั้งที่เวลาเคาน์ท์เตอร์นับถอยหลังเหลือศูนย์ เกมจะแสดงผลบนจอว่าศัตรูเผ่าไหนจะเก่งขึ้นอย่างไร เรามีทางเลือกที่จะใช้ “แต้มความเป็นตำนาน” (Legacy Points) ที่ได้จากการสำรวจดินแดนใหม่ๆ และผ่านเส้นเรื่องบางจุด กดไม่ให้ศัตรูเก่งขึ้นได้ถ้าเรามีแต้มมากพอ
.
กลไกนี้หมายความว่า บรรดานักผจญภัยของเราจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ก็จริง แต่ศัตรูก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นเงาตามตัวด้วย ยังไม่นับเหตุการณ์ตามท้องเรื่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะๆ บางครั้งตัวละครเราจะถูกดึงให้ไปทำภารกิจ (quest) ส่วนตัวอะไรสักอย่าง ก่อนจะกลับมาร่วมเดินทางกับทีม
.
พูดถึงเหตุการณ์ตามท้องเรื่องแล้วก็ต้องพูดถึงระบบ “พัฒนาการ” ของตัวละคร และวิธีเล่าเรื่องของ Wildermyth อันเป็นจุดที่โดดเด่นที่สุดของเกมนี้ สมาชิกนักผจญภัยของเราทุกคนไม่เพียงแต่มีปูมหลังและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน (ใจร้อน / ช่างคิด / เพ้อฝัน / โรแมนติก / ชอบผจญภัย / กวี และนิสัยอื่นๆ หลายสิบชนิด) แต่เกมนี้จะติดตามเรื่องราวของตัวละครตั้งแต่มาร่วมทีมในวัยละอ่อน (20 ต้นๆ) จนถึงวันตาย เราจะได้เห็นฮีโร่คนโปรดเติบโต ผมดำขลับเปลี่ยนเป็นสีดอกเลา จากนั้นพอถึงวัย 70-80 ก็จะใกล้ตาย (เกมจะบอกเราในฉากติดอาวุธหรืออุปกรณ์ว่า ตัวละครตัวไหนที่จะไม่อยู่กับเราในบทต่อไปแล้ว) และเมื่อฮีโร่ตายหรือเราพิชิตแคมเปญได้แล้ว นั่นก็ยังไม่ใช่ “จุดจบ” ของนักผจญภัย – เราสามารถเลือกสมาชิกคนโปรดที่อยากเจออีกในแคมเปญอนาคต ในฐานะ “ฮีโร่ในตำนาน” และได้เลือกความสามารถพิเศษบางอย่างที่เขาหรือเธอสะสมมาตลอดแคมเปญ ให้เป็น “มรดก” สำหรับเขาหรือเธอในภพถัดไป เมื่อต้องเริ่มต้นใหม่ที่เลเวล 1 เหมือนกับสมาชิกคนอื่นๆ
.
ระบบ Legacy แปลว่า ฮีโร่คนโปรดของเราอาจกลายเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่หลังจากที่เราเลือกเซฟเขาหรือเธอไปเล่นหลายแคมเปญติดต่อกัน เกมจะบันทึกการผจญภัยและเหตุการณ์สำคัญๆ ที่นักผจญภัยแต่ละคนประสบพบเจอใน “ประวัติ” ของเขาหรือเธอ
.
ที่น่าทึ่งไปกว่านั้น นักผจญภัยในทีมเราจะไม่ได้ง่วนอยู่กับการทำภารกิจต่อสู้สัตว์ประหลาดอย่างเดียว แต่มี “ชีวิต” ที่หลากหลายและเปี่ยมเสน่ห์ ก่อนการต่อสู้ทุกครั้งและระหว่างการเดินทางท่องโลก เรามีโอกาสเจอ “เรื่องราว” ที่เข้ามากระทบกับตัวละครอยู่เสมอ ทุกเรื่องเล่าผ่านการ์ตูนช่องที่ให้เราตัดสินใจผลลัพธ์ และเรื่องนั้นก็อาจเป็นเรื่องราวเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวละครสองตัวเกี้ยวพาราสีจนพบรัก หรือชิงดีชิงเด่นกันจนเป็นคู่อริ (มีผลในฉากต่อสู้ด้วย) ตัวละครอีกตัวนึกครึ้มใจอยากแต่งกลอนชื่นชมธรรมชาติ บางครั้งคู่รักอาจให้กำเนิดลูกสาวหรือลูกชายที่เติบโตมาเป็นนักผจญภัยเหมือนพ่อแม่ (เราเลือกได้ว่าจะให้ตัวละครใหม่เป็นคลาสอะไร) หรือไม่อีกที ตัวละครอีกตัวอาจเจอหินลึกลับที่พอแตะแล้วซึมซับเข้าไปในร่างกาย เปลี่ยนแขนหรือขาให้กลายเป็นก้อนหินทรงพลัง (การแปลงร่างในเกมนี้มีหลากหลายรูปแบบ และทั้งหมดล้วนแต่สนุกมากเวลาเจอ)
.
เรื่องราวทุกเรื่องในเกมถ่ายทอดเป็นการ์ตูนช่องสองมิติสวยงาม หลายเรื่องใช้ภาษาเรียบง่ายแต่น่าหลงใหลไม่ต่างจากการได้อ่านเรื่องสั้นชั้นดีเลยทีเดียว อีกจุดที่สนุกมากคือการเล่าเรื่องระหว่างบท เมื่อจบบทหนึ่งแล้ว เกมจะขึ้นข้อความให้เราเห็นว่า การกระทำของเรามีผลให้โลก Yondering Lands ได้พบกับสันติสุขไปกี่ปี (ก่อนที่ความโกลาหลครั้งใหม่จะเริ่มต้นในบทถัดไป) จากนั้นก็ขึ้นการ์ตูนช่องบรรยายว่า ในช่วงเวลาแห่งสันตินั้น สมาชิกในทีมเราแต่ละคนใช้เวลาไปทำอะไรบ้าง บางคนอาจเปิดผับขายเหล้า บางคนกลับบ้านไปหาครอบครัว บางคนตั้งรกรากมีลูก บางคนอาจสอนเวทให้กับนักเวทรุ่นต่อไป ทั้งหมดนี้ประกอบกันทำให้เราใส่ใจกับทีม เสียใจเมื่อใครสักคนต้องตาย ไม่ว่าจะตายในสนามรบ ตายตามท้องเรื่อง หรือตายตามอายุขัยก็ตาม
.
Wildermyth มีโหมด multiplayer ให้เราผจญภัยร่วมกับเพื่อนๆ และมีแคมเปญแบบสุ่มนอกเหนือจากแคมเปญหลักที่เล่าเรื่องใหญ่ห้าแคมเปญ แคมเปญสุ่มจะไม่มีเส้นเรื่องใหญ่ใดๆ มีเพียงเหตุการณ์สั้นๆ ที่คาดเดาไม่ได้ล่วงหน้า (procedural campaign) ทำให้มันเป็นเกม RPG ส่วนน้อยที่เล่นแล้วเล่นอีกได้ไม่รู้เบื่อ ยังไม่นับ mods อีกมากมายที่แฟนเกมบรรจงสร้างมาต่อเติมเนื้อหาให้สดใหม่อยู่เสมอ
.
คงไม่มีคำสรรเสริญ Wildermyth ใดๆ ที่จะชัดไปกว่าการกล่าวว่า นี่เป็นเกมหนึ่งในจำนวนไม่กี่เกมที่ผู้เขียนคิดว่าจะไม่มีวันลบไปจากฮาร์ดดิสก์แน่ ๆ
.
- สฤณี อาชวานันทกุล
.
#UnderdogsCorner #GamingDose #wildermyth #Fringer
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
quest แปลว่า 在 Facebook 的最佳貼文
FFXIV 2021 FanFest - duty completed
เป็นงานที่ครบทุกรสชาติอารมณ์มาก...โพสต์นี้จะสรุปข้อมูลและเนื้อหาที่น่าสนใจจากงาน FanFest เนื่องจากมันยาวหน่อยเลยจะแบ่งพาร์ทนะคะ
.
.
เริ่มที่เทรลเลอร์ใหม่
youtu.be/QODhVO2rftI
ขอหวีดเพลงหน่อย…💀 ถ้าใครเล่นมาตั้งแต่ 2.0 จะตื้นตันในการเอาธีมของทุก expansion มาใช้ โดยสอดคล้องกับตัวละครในฉากด้วย เอสติเนี่ยนมาพร้อมธีมของ Heavensward, เซนอส อาซาฮี มาพร้อมธีม Stormblood, ทรานเครด A Realm Reborn, กราฮาเทีย Shadowbringers
เป็นเพลงฉากเปิดที่ให้อารมณ์ Finale โคตรๆ แล้วนี่ยังไม่ใช่เวอร์ชั่นเต็มนาจา...รอดูรอฟังอันเต็มปลายปีนี้
เนื้อหาในเทรลเลอร์เดี๋ยวจะทำวิเคราะห์แยกอีกที แบบเทรลเลอร์ที่แล้ว
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=taepoppuri&set=a.287527412731290
.
.
• Endwalker จะวางจำหน่ายในวันที่ 23 พฤษจิกายน ปีนี้
• Early Access 19 พฤษจิกายน สำหรับคนที่พรีออร์เดอร์เกมไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน คือจองก่อนจะได้เล่นก่อนสี่วันน่ะเอง
• Collector Edition Box รอบนี้ แถมฟิกเกอร์ตัวเอกในชุดพาลาดินของภาคนี้, มินิอาร์ตพรินท์พร้อมกรอบ เป็นอาร์ตของโยชิทากะอามาโนะที่เคยวาดให้เกมนี้ทุกภาครวม 9 รูป, พินเข็มกลัดรูปคริสตัลของอาเซ็ม, ตุ๊กตากระต่าย Loporrit ทั้งหมดราคา $140
ซึ่งตัวคอลเลคเตอร์นี่ตอนนี้ Sold out หมดทุกโซนแล้ว...อันที่จริงน่าจะทำมาเยอะหน่อยนะเกมก็ดังแล้ว -_-” ก็รอดูว่าจะมีลอตสองมารีสตอคไหม
• ตัวเกมแบบธรรมดา ราคาเดิม $39.99 ส่วน Collector Digital ราคา $59.99 มีโบนัสเป็นเมานท์ม้าบิน Arion, มิเนี่ยนโพรอม (FF4), อาวุธเคียวไว้กลามัวร์
คลิปเมานท์ https://www.youtube.com/watch?v=r2wCRUGi2Ec
• ส่วนคนพรีออร์เดอร์ นอกจากได้เล่นก่อน ก็มีโบนัสเป็นตุ้มหูเพิ่ม exp 30% เมื่อเลเวลต่ำกว่า 80 และมิเนี่ยนพารอม (FF4)
• เปิดตัวอาชีพใหม่ Reaper เป็น Melee DPS ใช้เคียวเป็นอาวุธ ใช้ชุด Maiming ร่วมกับดรากูน กิมมิคหลักคือเปิดประตูมิติเรียกวอยด์เซนต์มาเป็นท่าโจมตี
คลิป https://www.youtube.com/watch?v=pfqi_ow02rE
• Reaper ไม่ได้มีต้นแบบจากภาคไหน สรุปคือสองอาชีพใหม่ใน Endwalker ทั้ง Sage และ Reaper เป็นอาชีพออริจินอลของ FFXIV ทั้งคู่
• เพิ่ม Viera เพศชาย! ตามที่เรียกร้องกันมาตลอดสองปี ส่วน H’rothgar หญิงมีแผนจะทำตามมาทีหลัง หลังจาก 6.0 ไป ใครอยากเล่นกระต่ายชายมานานแล้วก็ยินดีด้วย
คลิป https://www.youtube.com/watch?v=6NxPJ_BPSwU
• เปิดดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ให้กับผู้เล่นชาวโอเชียเนีย (ออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆ) … น่าจะส่งผลกับพวกเราชาวไทยในทอนเบอรี่ประมาณนึง คือชาวไทยปัจจุบันเล่นกันอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ญี่ปุ่น (Elemental) ซึ่งปิงดีกว่าต่อไปออสเตรเลีย ดังนั้นคนไทยคงไม่ย้ายกัน แต่ถ้าผู้เล่นออสซี่ย้ายไปเล่นดาต้าเซ็นเตอร์ตัวเองกันเยอะๆเข้า ประชากรที่ใช้ภาษาอังกฤษในดาต้าเซ็นเตอร์ Elemental ก็จะน้อยลง พวกดิวตี้ทั่วไปไม่มีปัญหา แต่ตี้ซาเวจกับอัลติเมทก็ต้องดูกันอีกที
• โชว์แผนที่ใหม่คือ Labyrinthose เมืองใต้ดินของชาร์เลียน และ Mare Lamentorum (แปลว่า ทะเลแห่งความเศร้าโศก) ที่เป็นสิ่งก่อสร้างของแอนเชียนบนดวงจันทร์ คาดว่าบีสไทรบ์ใหม่ที่เป็นกระต่ายน้อย Loporrits ก็น่าจะอยู่บนดวงจันทร์
• ไพรมอล(?) Magus Sisters จากภาค 4 และ 10 ไม่รู้ว่าเป็นมิตรหรือศัตรูในภาคนี้
• Realm Myths เหรด 24 คน เป็นออริจินัลสตอรี่ของ FFXIV เองไม่ได้คอลแลบกับเกมอื่น เนื้อหาเกี่ยวกับเทพ The Twelve ของเอเออร์เซีย
.
.
รวมข้อมูลบทสัมภาษณ์ช่วงอื่นๆ
• Endwalker จะมีเสียงพากย์ประกอบคัทซีนมากที่สุดตั้งแต่เคยทำมา และจะมีเนื้อหาเยอะที่สุดในทุกภาค เพราะจะจบเรื่องหลักใน 6.0 เลย ทีมงานพยายามเร่งทำแล้วให้ทันตุลาคม แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้มีอุปสรรค สุดท้ายคิดว่าถ้าจะให้ออกมาคุณภาพดีสมเป็นภาคปิดตำนานไฮเดลินโซดิอาร์ค ก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยตามที่ประกาศไป ขอให้อดใจรอกันเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
• โยชิพีชอบเล่นสายเวทมาตั้งแต่ Diablo, Ever Quest, Ultima Online, Dark Age of Camelot
• ความทรงจำในการพัฒนาเกมนี้ที่โยชิพีดีใจมากที่สุด คือตอน FanFest in 2014 ที่ลาสเวกัส มีปัญหากับระบบลงทะเบียนทำให้คนต้องต่อแถวยาวและนานมาก ทีมงานขอให้โยชิพีช่วยเดินออกไปให้แฟนๆพบเจอหน่อยเพื่อว่าคนที่ต่อคิวจะได้อารมณ์ดีขึ้น โยชิพีตั้งใจว่าจะเดินออกไปขอโทษคนที่ต้องรอ แต่กลับกลายเป็นว่าได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น ทุกคนที่ต่อแถวอยู่ไม่มีใครทำท่าโมโหหงุดหงิดใส่เขาเลย ยังมีแฟนเกมคนหนึ่งอายุประมาณ 60-70 ที่ยืนอยู่ในแถวบอกว่าชอบงานมากอีกด้วย
• ส่วนเรื่องที่เคยเครียดที่สุดคือตอนเปิดระบบขายบ้านใน 2.00 ที่ต้องตั้งราคาบ้านต่างกันในเซิฟเลกาซี่ เพราะเงินเฟ้อมาก เขาไม่อยากทำแบบนั้นเลย (ถ้าจำไม่ผิด บ้านเลกาซี่แพงกว่าหลายสิบเท่า คือเปิดราคามาอึ้งไปเลย)
• โยชิพีเล่นแบลคเมจสายสเปลสปีด เวลาแพทช์ออกเขาก็มาดูลิสต์ BiS ของคอมมูต่างชาติบ่อยๆ
• กำลังใจในการทำงานคือได้เห็นแฟนๆตื่นเต้น โวยวาย สนุกสนาน ในงานอย่าง FanFest นี่แหล่ะ เป็นพลังให้ทีมงานมีแรงฮึดสู้ทำงานแบบก้าวข้ามตัวเองในทุกๆภาคไป
• คำถามสำหรับอิชิกาว่า (หัวหน้าทีมเขียนบท ล่าสุดก็เขียน 5.0, 5.3) ทำงานโดยใช้ Notepad เขียนรายละเอียดต่างๆก่อนจะเอาไปลง excel เพื่อนำเสนอ/ส่งต่อให้หน่วยงานอื่นอีกที
• ถึงจะมีหน้าที่เขียนบท แต่งานไม่ใช่แค่เขียนบทในเกมอย่างเดียว ต้องคิดรายละเอียดต่างๆเช่น จะใช้เพลงประกอบอะไรในฉากต่างๆ สีหน้าตัวละครในคัทซีน การเน้นคำพูดในเสียงพากย์ รวมไปถึงการลงงบในแต่ละฉาก ว่าฉากไหนจะเล่นใหญ่ ฉากไหนไม่สำคัญ เป็นต้น
• อิชิกาว่าเผลอทำงานโต้รุ่งบ่อยๆ แต่ถ้าอยู่ออฟฟิศโยชิพีจะโดน HR โทรไปฟ้อง และบังคับให้คนในทีมไม่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ
• ตัวเลือกคำตอบในเมนเควส เธอมักจะแบ่งออกเป็นสามทางเลือก คือแง่บวก กลางๆ แง่ลบ และบางทีก็เพิ่มตัวเลือกแบบมุกตลกเข้าไป
• ตัวละครที่เธอชอบและโหวตให้ในโพล NHK คือ โอเมก้า
(ผลโพล https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2856366997776064&type=3)
• ก่อนจะเริ่ม Endwalker เธอแนะนำให้คนที่ยังไม่ได้ทำ ไปเล่นเนื้อเรื่อง Coils of Bahamut จะได้เข้าใจความสัมพันธ์ของสองแฝดกับครอบครัว และเหรดของ Omega ที่มีพูดถึงทายาทของมิการ์ซอร์ม เพราะในภาคนี้วฤตระ (มังกรที่เอสติเนี่ยนขี่ในฉากเปิด เป็นน้องคนสุดท้องของมังกรทายาททั้งเจ็ดตน) จะมีบทสำคัญ เล่นเนื้อเรื่องสองเหรดนี้แล้วจะได้เข้าใจบริบทต่างๆใน Endwalker มากขึ้น
• สินค้าระดับไฮเอ็นด์ที่เปิดตัวในงานนี้คือ นาฬิกา Citizen และ กีต้าร์ Fender เป็นรุ่นของ FFXIV โดยเฉพาะ เข้าไปดูราคากับหน้าตาได้ในคอมเมนต์
.
.
เดี๋ยวมาต่อโพสต์หน้ากับพาเนลนักพากย์ และเก็บตกบทสัมภาษณ์นอกงาน
#FF14