“โลกกำลังคลั่ง ระบบกำลังพัง” สรุปบทความล่าสุด จาก Ray Dalio / โดย ลงทุนแมน
[1 ในบทความที่นิยมสุดของลงทุนแมนในปี 2019]
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ลงทุนแมนเขียนเสร็จแล้วก็เกิดความวิตกกังวลมากสุดในรอบปี
เรย์ ดาลิโอ ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก
ได้ออกมาเขียนบทความล่าสุดเรื่อง
“The World Has Gone Mad and the System Is Broken”
หรือแปลว่า โลกกำลังบ้าคลั่ง และ ระบบกำลังพังลง
ทำไม เรย์ ดาลิโอ ถึงให้ความเห็นแบบนั้น
แล้วมันน่ากังวลอย่างไร
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวงการลงทุน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เรย์ ดาลิโอ
เขาคนนี้ คือ ผู้บริหารบริษัท Bridgewater Associates
เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก ที่บริหารเงินกว่า 4.8 ล้านล้านบาท
และเป็นคนที่สรุปหนังสือเชิงปรัชญาชื่อดัง Principles
ล่าสุด เขาได้ออกมาเตือนผู้คนทั่วโลกผ่านบทความที่เขียนใน Linkedin ว่าระบบการเงินในโลกของเราใกล้จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่..
เหตุผลข้อแรกก็เพราะว่า เงินกำลังเป็นของฟรีสำหรับคนที่มีเครดิตดี
สมัยนี้ นักลงทุนทั่วโลกต่างก็เทเงินให้กับคนที่มีเครดิตดีเอาเงินไปใช้
ซึ่งคำว่า ฟรี ในที่นี้ก็เพราะว่าอัตราดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำมาก หรือ แทบจะติดลบในบางประเทศ
ในขณะเดียวกัน นักลงทุนบางรายก็แทบไม่สนใจเงินที่เทลงไปด้วยซ้ำว่าจะได้คืนหรือไม่..
เพราะว่า พวกเขามีเงินอยู่ในหน้าตักมหาศาล
นอกจากนี้ ธนาคารกลางก็พยายามนำเงินเข้าระบบผ่านการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินคืน เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และหวังจะเพิ่มระดับเงินเฟ้อ
แต่แทนที่คนจะใช้จ่ายมากขึ้น
แต่คนกลับนำเงินไปลงทุน..
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
(ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตเรา)
พอเรื่องเป็นแบบนี้ มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินจึงปรับตัวสูงขึ้น
และทำให้เราคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนน้อยลง
ที่น่าสนใจคือ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับสินทรัพย์อื่น เช่น
หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Equity)
หุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity)
บริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital)
ด้วยลักษณะของผลตอบแทนของสินทรัพย์พวกนี้คาดการณ์ได้ไม่แน่นอนเหมือนพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ จึงทำให้นักลงทุนจินตนาการเพ้อฝันไปไกลว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีขนาดไหน
นักลงทุนมีเงินล้น กำลังหลงใหลไปกับบริษัทสตาร์ตอัปที่มีเรื่องราวเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
ตอนนี้ บริษัทเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤตดอตคอมปี 2000
โดยที่บริษัทเหล่านี้ยังไม่มีแม้แต่แผนธุรกิจ หรือ ความสามารถในการทำกำไร
พวกเขาทำแค่อย่างเดียว คือ ขายความฝัน..
ถึงแม้ว่าบางบริษัทจะไม่ได้ต้องการเงิน เพราะมีเงินที่ระดมทุนได้มากพอแล้ว
แต่นักลงทุนก็ยังพยายามเทเงินลงไปให้อีก และบังคับให้บริษัทรับเงินไป
เพราะนักลงทุนเหล่านี้มีเงินล้นเกินไป จนมีเงินที่ไม่ได้ถูกใช้จำนวนมาก
แต่เขาจำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า
และก็เพื่อเก็บค่าธรรมเนียมก้อนโต
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ตกอยู่ในภาวะขาดดุลอย่างหนัก
ทำให้รัฐต้องกู้เงินเพิ่มโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก
มากเสียจนพันธบัตรเหล่านี้ไม่สามารถขายหมดได้โดยวิธีปกติ หากไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้น่าดึงดูดพอ
แต่ถ้าต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงๆ ก็คงเป็นหายนะทางเศรษฐกิจ
เพราะตอนนี้โลกอยู่ในช่วงกู้เกินตัวมานาน
แล้วคำถามคือ โลกนี้จะเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อพันธบัตรที่มากมาย และปิดการขาดดุลนี้?
คำตอบที่ได้เราอาจจะตกใจก็คือ
เงินพวกนั้นมาจาก ธนาคารกลางที่คอยพิมพ์ธนบัตรใหม่ เพื่อมาซื้อพันธบัตรนั่นเอง
สรุปง่ายๆ ที่ เรย์ ดาลิโอ กำลังจะสื่อก็คือ “รัฐกำลังพิมพ์แบงก์ เพื่อมาซื้อพันธบัตรของตัวเอง”
ซึ่งระบบที่ดูเหมือนจะพังลงนี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไป
และกำลังเป็นอัตราเร่ง
โดยเฉพาะในประเทศที่สกุลเงินนั้นถูกนำมาใช้เป็นเงินสำรองของประเทศต่างๆ
เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ในรูปของเงิน ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และ เยน
อีกระบบที่กำลังจะพังลงในไม่ช้าก็คือ ระบบบำนาญ และประกันสุขภาพ
ระบบบำนาญกำลังจะครบกำหนดการจ่ายเงิน และไม่สามารถจ่ายเงินตามที่แจ้งไว้ได้
น่าตกใจที่กองทุนเหล่านี้ต้องทำผลตอบแทนให้ได้ปีละ 7% เพื่อให้จ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งอัตราผลตอบแทนขนาดนี้ มากกว่าผลตอบแทนของตลาดปัจจุบันเป็นอย่างมาก
คนที่จะโดนผลกระทบก็หนีไม่พ้น คุณครู พนักงานองค์กรรัฐต่างๆ ที่ในขณะเดียวกันก็ถูกบีบโดยการปรับลดงบประมาณ
ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นเรา ก็คงไม่ยอมที่จะได้รับสวัสดิการที่ลดลงอย่างแน่นอน
ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับสวัสดิการด้านสุขภาพเช่นกัน เพราะโครงสร้างประชากรกำลังเปลี่ยนไป ประชากรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนน้อยกว่าต้องทำงานเพื่อสนับสนุนประชากรยุคเบบี้บูมเมอร์ที่มีจำนวนมาก และกำลังต้องการสวัสดิการทางสุขภาพ
แล้วทางออกของรัฐบาล มีอะไรบ้าง?
ทางออกที่ 1 คือ ลดสวัสดิการลง
ทางออกที่ 2 คือ ขึ้นภาษี
ทางออกที่ 3 คือ พิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาในระบบ
จากทางเลือกทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางออกไหนเข้าท่า
แถมมันอาจจะเป็นการเร่งให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การพิมพ์เงินเพิ่มดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และเป็นทางลัด
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงินทั้งหมดบนโลกนี้มันระบุแค่ว่าต้องคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนเงินในสัญญา แต่มันไม่ได้ห้ามพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่ และไม่ได้ห้ามว่าเงินต้องด้อยค่าลง
ความเสี่ยงที่สำคัญคือ เรื่องนี้กำลังจะเป็นการทดสอบว่า เงินสกุลหลักที่ใช้เป็นเงินสำรองทั่วโลก 3 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน จะยังคงมีค่าในตัวมันเองอยู่หรือไม่
แต่ถ้ารัฐยังหาเงินมาจ่ายเงินบำนาญและประกันสุขภาพได้ไม่พอ ก็ต้องกลับไปย้อนดูทางออกที่ 1 และทางออกที่ 2 ซึ่งก็คือการดูว่า จะตัดสวัสดิการส่วนไหน และต้องเก็บภาษีมากขึ้นเท่าไหร่
ที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าทางไหนมันก็จะกระทบทั้งคนรวยและคนจน
เช่น หากลดสวัสดิการก็ทำให้คนจนไม่พอใจ
แต่หากขึ้นภาษีก็จะทำให้คนรวยพากันย้ายไปอยู่ในที่อื่น
และในที่สุด ก็จะทำให้รัฐสูญเสียคนรวยที่เป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ของประเทศ
และก็มาถึงประเด็นข้อสุดท้าย..
ที่พูดมาทั้งหมด จริงๆ แล้ว เงินเป็นของฟรีก็เฉพาะสำหรับผู้ที่มีเครดิตเท่านั้น
ไม่ว่าโลกนี้จะมีเงินล้นมากเท่าไร
กลับเป็นของหายากสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินและไม่มีเครดิต
เมื่อรวมกับช่องว่างในอนาคต ที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
จนเครื่องจักรสามารถมาทำงานแทนมนุษย์ได้
กลับมาถามหัวใจสำคัญของ “ระบบทุนนิยม”
ระบบทุนนิยมเกิดขึ้นจากรากฐานความเชื่อว่า
ถ้านายทุนมีเงินเพื่อสร้างการผลิต
คนจน จะได้ประโยชน์เองจากตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น
สุดท้ายภาพรวมจะดีขึ้นเอง
แต่มาวันนี้ ทฤษฎีนี้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะนายทุนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องจ้างมนุษย์..
เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจแสดงให้เห็นว่า
“ระบบทุนนิยม” แบบเดิมซึ่งเราเชื่อกันว่า
จะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมากในที่สุด
อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป..
จากสิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนที่พร้อมจะแตกหัก
และมันไม่สามารถฝืนได้อีกต่อไป
เรื่องนี้จะเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008
ซึ่งโลกนี้กำลังดำเนินเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ในไม่ช้า..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
Reference
https://www.linkedin.com/…/world-has-gone-mad-system-broken…
「equity มีอะไรบ้าง」的推薦目錄:
- 關於equity มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於equity มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於equity มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於equity มีอะไรบ้าง 在 Private Equity คืออะไร | รายการ innovative wisdom - YouTube 的評價
- 關於equity มีอะไรบ้าง 在 FINNOMENA - วิธีง่ายๆในการเลือกกองทุน กองทุนไหนดี? ... 的評價
equity มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
“โลกกำลังคลั่ง ระบบกำลังพัง” สรุปบทความล่าสุด จาก Ray Dalio / โดย ลงทุนแมน
[1 ในบทความที่นิยมสุดของลงทุนแมนในปี 2019]
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ลงทุนแมนเขียนเสร็จแล้วก็เกิดความวิตกกังวลมากสุดในรอบปี
เรย์ ดาลิโอ ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก
ได้ออกมาเขียนบทความล่าสุดเรื่อง
“The World Has Gone Mad and the System Is Broken”
หรือแปลว่า โลกกำลังบ้าคลั่ง และ ระบบกำลังพังลง
ทำไม เรย์ ดาลิโอ ถึงให้ความเห็นแบบนั้น
แล้วมันน่ากังวลอย่างไร
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวงการลงทุน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เรย์ ดาลิโอ
เขาคนนี้ คือ ผู้บริหารบริษัท Bridgewater Associates
เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก ที่บริหารเงินกว่า 4.8 ล้านล้านบาท
และเป็นคนที่สรุปหนังสือเชิงปรัชญาชื่อดัง Principles
ล่าสุด เขาได้ออกมาเตือนผู้คนทั่วโลกผ่านบทความที่เขียนใน Linkedin ว่าระบบการเงินในโลกของเราใกล้จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่..
เหตุผลข้อแรกก็เพราะว่า เงินกำลังเป็นของฟรีสำหรับคนที่มีเครดิตดี
สมัยนี้ นักลงทุนทั่วโลกต่างก็เทเงินให้กับคนที่มีเครดิตดีเอาเงินไปใช้
ซึ่งคำว่า ฟรี ในที่นี้ก็เพราะว่าอัตราดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำมาก หรือ แทบจะติดลบในบางประเทศ
ในขณะเดียวกัน นักลงทุนบางรายก็แทบไม่สนใจเงินที่เทลงไปด้วยซ้ำว่าจะได้คืนหรือไม่..
เพราะว่า พวกเขามีเงินอยู่ในหน้าตักมหาศาล
นอกจากนี้ ธนาคารกลางก็พยายามนำเงินเข้าระบบผ่านการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินคืน เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และหวังจะเพิ่มระดับเงินเฟ้อ
แต่แทนที่คนจะใช้จ่ายมากขึ้น
แต่คนกลับนำเงินไปลงทุน..
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
(ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตเรา)
พอเรื่องเป็นแบบนี้ มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินจึงปรับตัวสูงขึ้น
และทำให้เราคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนน้อยลง
ที่น่าสนใจคือ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับสินทรัพย์อื่น เช่น
หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Equity)
หุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity)
บริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital)
ด้วยลักษณะของผลตอบแทนของสินทรัพย์พวกนี้คาดการณ์ได้ไม่แน่นอนเหมือนพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ จึงทำให้นักลงทุนจินตนาการเพ้อฝันไปไกลว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีขนาดไหน
นักลงทุนมีเงินล้น กำลังหลงใหลไปกับบริษัทสตาร์ตอัปที่มีเรื่องราวเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
ตอนนี้ บริษัทเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤตดอตคอมปี 2000
โดยที่บริษัทเหล่านี้ยังไม่มีแม้แต่แผนธุรกิจ หรือ ความสามารถในการทำกำไร
พวกเขาทำแค่อย่างเดียว คือ ขายความฝัน..
ถึงแม้ว่าบางบริษัทจะไม่ได้ต้องการเงิน เพราะมีเงินที่ระดมทุนได้มากพอแล้ว
แต่นักลงทุนก็ยังพยายามเทเงินลงไปให้อีก และบังคับให้บริษัทรับเงินไป
เพราะนักลงทุนเหล่านี้มีเงินล้นเกินไป จนมีเงินที่ไม่ได้ถูกใช้จำนวนมาก
แต่เขาจำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า
และก็เพื่อเก็บค่าธรรมเนียมก้อนโต
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ตกอยู่ในภาวะขาดดุลอย่างหนัก
ทำให้รัฐต้องกู้เงินเพิ่มโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก
มากเสียจนพันธบัตรเหล่านี้ไม่สามารถขายหมดได้โดยวิธีปกติ หากไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้น่าดึงดูดพอ
แต่ถ้าต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงๆ ก็คงเป็นหายนะทางเศรษฐกิจ
เพราะตอนนี้โลกอยู่ในช่วงกู้เกินตัวมานาน
แล้วคำถามคือ โลกนี้จะเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อพันธบัตรที่มากมาย และปิดการขาดดุลนี้?
คำตอบที่ได้เราอาจจะตกใจก็คือ
เงินพวกนั้นมาจาก ธนาคารกลางที่คอยพิมพ์ธนบัตรใหม่ เพื่อมาซื้อพันธบัตรนั่นเอง
สรุปง่ายๆ ที่ เรย์ ดาลิโอ กำลังจะสื่อก็คือ “รัฐกำลังพิมพ์แบงก์ เพื่อมาซื้อพันธบัตรของตัวเอง”
ซึ่งระบบที่ดูเหมือนจะพังลงนี้ ก็ยังคงดำเนินต่อไป
และกำลังเป็นอัตราเร่ง
โดยเฉพาะในประเทศที่สกุลเงินนั้นถูกนำมาใช้เป็นเงินสำรองของประเทศต่างๆ
เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ในรูปของเงิน ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และ เยน
อีกระบบที่กำลังจะพังลงในไม่ช้าก็คือ ระบบบำนาญ และประกันสุขภาพ
ระบบบำนาญกำลังจะครบกำหนดการจ่ายเงิน และไม่สามารถจ่ายเงินตามที่แจ้งไว้ได้
น่าตกใจที่กองทุนเหล่านี้ต้องทำผลตอบแทนให้ได้ปีละ 7% เพื่อให้จ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งอัตราผลตอบแทนขนาดนี้ มากกว่าผลตอบแทนของตลาดปัจจุบันเป็นอย่างมาก
คนที่จะโดนผลกระทบก็หนีไม่พ้น คุณครู พนักงานองค์กรรัฐต่างๆ ที่ในขณะเดียวกันก็ถูกบีบโดยการปรับลดงบประมาณ
ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นเรา ก็คงไม่ยอมที่จะได้รับสวัสดิการที่ลดลงอย่างแน่นอน
ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับสวัสดิการด้านสุขภาพเช่นกัน เพราะโครงสร้างประชากรกำลังเปลี่ยนไป ประชากรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนน้อยกว่าต้องทำงานเพื่อสนับสนุนประชากรยุคเบบี้บูมเมอร์ที่มีจำนวนมาก และกำลังต้องการสวัสดิการทางสุขภาพ
แล้วทางออกของรัฐบาล มีอะไรบ้าง?
ทางออกที่ 1 คือ ลดสวัสดิการลง
ทางออกที่ 2 คือ ขึ้นภาษี
ทางออกที่ 3 คือ พิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาในระบบ
จากทางเลือกทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางออกไหนเข้าท่า
แถมมันอาจจะเป็นการเร่งให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การพิมพ์เงินเพิ่มดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และเป็นทางลัด
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงินทั้งหมดบนโลกนี้มันระบุแค่ว่าต้องคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนเงินในสัญญา แต่มันไม่ได้ห้ามพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่ และไม่ได้ห้ามว่าเงินต้องด้อยค่าลง
ความเสี่ยงที่สำคัญคือ เรื่องนี้กำลังจะเป็นการทดสอบว่า เงินสกุลหลักที่ใช้เป็นเงินสำรองทั่วโลก 3 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน จะยังคงมีค่าในตัวมันเองอยู่หรือไม่
แต่ถ้ารัฐยังหาเงินมาจ่ายเงินบำนาญและประกันสุขภาพได้ไม่พอ ก็ต้องกลับไปย้อนดูทางออกที่ 1 และทางออกที่ 2 ซึ่งก็คือการดูว่า จะตัดสวัสดิการส่วนไหน และต้องเก็บภาษีมากขึ้นเท่าไหร่
ที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าทางไหนมันก็จะกระทบทั้งคนรวยและคนจน
เช่น หากลดสวัสดิการก็ทำให้คนจนไม่พอใจ
แต่หากขึ้นภาษีก็จะทำให้คนรวยพากันย้ายไปอยู่ในที่อื่น
และในที่สุด ก็จะทำให้รัฐสูญเสียคนรวยที่เป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ของประเทศ
และก็มาถึงประเด็นข้อสุดท้าย..
ที่พูดมาทั้งหมด จริงๆ แล้ว เงินเป็นของฟรีก็เฉพาะสำหรับผู้ที่มีเครดิตเท่านั้น
ไม่ว่าโลกนี้จะมีเงินล้นมากเท่าไร
กลับเป็นของหายากสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินและไม่มีเครดิต
เมื่อรวมกับช่องว่างในอนาคต ที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
จนเครื่องจักรสามารถมาทำงานแทนมนุษย์ได้
กลับมาถามหัวใจสำคัญของ “ระบบทุนนิยม”
ระบบทุนนิยมเกิดขึ้นจากรากฐานความเชื่อว่า
ถ้านายทุนมีเงินเพื่อสร้างการผลิต
คนจน จะได้ประโยชน์เองจากตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น
สุดท้ายภาพรวมจะดีขึ้นเอง
แต่มาวันนี้ ทฤษฎีนี้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะนายทุนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องจ้างมนุษย์..
เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจแสดงให้เห็นว่า
“ระบบทุนนิยม” แบบเดิมซึ่งเราเชื่อกันว่า
จะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมากในที่สุด
อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป..
จากสิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนที่พร้อมจะแตกหัก
และมันไม่สามารถฝืนได้อีกต่อไป
เรื่องนี้จะเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008
ซึ่งโลกนี้กำลังดำเนินเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ในไม่ช้า..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
Reference
https://www.linkedin.com/pulse/world-has-gone-mad-system-broken-ray-dalio
equity มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ผู้สนับสนุน..
เกษียณไปกับ บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก
B-INNOTECHRMF
หากเราเป็นหนึ่งคนที่สนใจในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก
และกำลังมองหากองทุน RMF เพื่อนำไปเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ
B-INNOTECHRMF
ก็ถือเป็นกองทุนที่น่าจะตอบโจทย์คนที่มีความสนใจบริษัทเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อโลกในอนาคต
แล้วรายละเอียดของ B-INNOTECHRMF มีอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
B-INNOTECHRMF มีนโยบายการลงทุนในกองทุนหลัก Fidelity Funds - Global Technology Fund ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารหุ้นกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีมากว่า 20 ปีซึ่งมีประสบการณ์การลงทุนในบริษัท Alibaba ตั้งแต่สมัยยังเป็น Private Equity Company
สำหรับ B-INNOTECHRMF จะลงทุนในหน่วยลงทุน Fidelity Funds - Global Technology Fund เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของทรัพย์สินสุทธิ (NAV) โดยที่เหลือเป็นเงินฝากธนาคาร และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ธีมการลงทุนของ Fidelity Funds - Global Technology Fund ก็คือการลงทุนในธุรกิจที่คาดว่าจะสามารถเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของเราในอนาคตอันใกล้ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning), ปัญญาประดิษฐ์, ยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ และ เมืองแห่งอนาคต (Smart Cities)
เรามาดูทรัพย์สินที่ Fidelity Funds - Global Technology Fund ลงทุนมากสุด 5 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
หุ้นสามัญ บริษัท Samsung Electronics 6.7%
หุ้นสามัญ บริษัท Apple Inc. 5.8%
หุ้นสามัญ บริษัท Alphabet Inc. 4.9%
หุ้นสามัญ บริษัท Microsoft Corp. 4.0%
หุ้นสามัญ บริษัท Intel Corp. 3.6%
ซึ่งนอกจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้แล้ว ยังมีการกระจายไปยังบริษัทเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มการเติบโตได้ดีอีกด้วย
เรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน B-INNOTECHRMF ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562
3 เดือน
B-INNOTECHRMF 11.81%
เกณฑ์มาตรฐาน 10.16%
6 เดือน
B-INNOTECHRMF 16.64%
เกณฑ์มาตรฐาน 16.29%
ตั้งแต่ต้นปี
B-INNOTECHRMF 27.38%
เกณฑ์มาตรฐาน 30.96%
1 ปี
B-INNOTECHRMF 18.52% ต่อปี
เกณฑ์มาตรฐาน 19.03% ต่อปี
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
B-INNOTECHRMF 17.33% ต่อปี
เกณฑ์มาตรฐาน 13.90% ต่อปี
จากตัวเลขผลการดำเนินงานข้างต้น
ก็นับว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงเมื่อเทียบกับกองทุน RMF ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม B-INNOTECHRMF ก็ลงทุนกระจุกตัวอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีจึงมีความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย
ซึ่งหากเรากำลังมองหากองทุน RMF และสามารถรับความเสี่ยงเพื่อโอกาสการเติบโตกับธุรกิจเทคโนโลยีได้ B-INNOTECHRMF ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
อ่านรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/…/retirement-mu…/b-innotechrmf/6488…
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง
และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
equity มีอะไรบ้าง 在 FINNOMENA - วิธีง่ายๆในการเลือกกองทุน กองทุนไหนดี? ... 的推薦與評價
แล้วประเภทสินทรัพย์เนี่ยมันมีอะไรบ้าง ยังไม่รู้เลย จะให้จัดพอร์ทละ โอเค วัน ... กองทุนตราสารทุนในประเทศ / ต่างประเทศบางส่วน – Equity Small – Mid Cap กลุ่มนี้ ... ... <看更多>
equity มีอะไรบ้าง 在 Private Equity คืออะไร | รายการ innovative wisdom - YouTube 的推薦與評價
การระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจโรงแรมประสบภาวะชะงักงัน หลายโรงแรมไม่อาจประคองธุรกิจให้ผ่านช่วงวิกฤตนี้ได้ จึงหนีไม่พ้นการขายกิจการ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด ... ... <看更多>