รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅เสกสรร ปั้น Youtube,也在其Youtube影片中提到,http://www.sekyoutube.com สอนวิธีการหารายได้กับ Youtube ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนสามารถทำเงินได้จริง ข้อที่ 1 Create advertiser-friendly content หมายความว...
「รายได้ revenue」的推薦目錄:
- 關於รายได้ revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於รายได้ revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於รายได้ revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於รายได้ revenue 在 เสกสรร ปั้น Youtube Youtube 的最佳解答
- 關於รายได้ revenue 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最讚貼文
- 關於รายได้ revenue 在 มีรายได้เท่าไหร่... - กรมสรรพากร : The Revenue Department 的評價
- 關於รายได้ revenue 在 4 วิธีสร้างรายได้ (Passive Income) รอรับเงินทุกเดือนแบบไม่ต้อง ... 的評價
- 關於รายได้ revenue 在 Your content & YouTube Premium 的評價
รายได้ revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
รายได้ revenue 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ByteDance เจ้าของ TikTok กำลังท้าชนกับ Tencent และ Alibaba /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของประเทศจีน หลายคนคงนึกถึง
Tencent เจ้าตลาดโซเชียลมีเดียและเกมออนไลน์
Alibaba เจ้าตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
Baidu เจ้าตลาดบริการเซิร์ชเอนจิน
แต่ในระยะหลัง มีบริษัทหนึ่ง เริ่มแย่งชิงเวลาของผู้บริโภคไปจากยักษ์ใหญ่เหล่านี้ มากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง TikTok
ซึ่งหลังจาก ByteDance สร้างป้อมปราการอันแข็งแกร่งในธุรกิจโซเชียลมีเดียได้แล้ว สิ่งที่พวกเขาเล็งไว้ต่อไปคือ การรุกเข้าสู่เทคโนโลยีด้านอื่น แม้ว่าอาจจะต้องเปิดศึกกับเจ้าตลาดเดิมก็ตาม
แล้วตอนนี้ ByteDance กำลังทำอะไรอยู่บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนไปเมื่อปี 2016 หรือ 5 ปีที่แล้ว
ByteDance เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น สำหรับคนจีน ชื่อว่า Douyin หรือในเวอร์ชันสากล ที่คนต่างชาติ รวมถึงคนไทยเราคุ้นเคยกันในชื่อ “TikTok”
แนวโน้มที่คนติดตามคอนเทนต์สั้นมากขึ้น ประกอบกับฟีเชอร์ลูกเล่นตกแต่งคลิป ที่สำคัญคือความโดดเด่นในเรื่องอัลกอริทึมที่คัดวิดีโอตามความสนใจของผู้ใช้งานได้ดีมาก ส่งผลให้ TikTok ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ
ปัจจุบัน TikTok มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2,000 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้งานประจำ หรือ Active Users ทั่วโลก สูงถึง 1,332 ล้านบัญชีต่อเดือน
ด้วยเหตุนี้ ByteDance จึงมีรายได้ค่าโฆษณามหาศาล และเติบโตแบบก้าวกระโดด
ปี 2018 รายได้ 2.4 แสนล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 5.5 แสนล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งทำให้ ByteDance เป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นใหญ่สุดของโลก มีมูลค่าประเมินของบริษัท ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5.9 ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างฐานผู้ใช้งานหลักพันล้าน ในเวลาไม่นาน
แต่คำถามที่น่าสนใจคือ ByteDance มีแผนเติบโตต่อไปอย่างไร ?
เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ให้คนมาสร้างสรรค์คลิป หรือรับชมวิดีโอสั้น
ByteDance จึงเห็นโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับ “คอนเทนต์” และ “บริการ” ประเภทต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้มีการใช้งาน TikTok เพิ่มขึ้น
ซึ่งจุดนี้ บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้งานขนาดใหญ่ เพื่อเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม หรือเสนอบริการใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภคได้ในทันที
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจอื่นที่น่าสนใจของ ByteDance และคู่แข่งที่ต้องเผชิญหน้าด้วย
- ธุรกิจเกมออนไลน์
คลิปเกม เป็นหนึ่งในคอนเทนต์ยอดนิยมบน TikTok และเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินมหาศาล เพราะผู้เล่นสมัยนี้ พร้อมจ่ายเงินไม่จำกัด เพื่อซื้อไอเทมพิเศษ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ByteDance จึงตัดสินใจทุ่มเงิน 1.3 แสนล้านบาท เข้าซื้อบริษัท Moonton ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมแนว Multiplayer Online Battle Arena (MOBA)
รวมทั้งเข้าซื้อบริษัท C4Games ผู้พัฒนาเกมชื่อดังอย่าง Red Alert OL และลงทุนในบริษัท Reworld ผู้พัฒนาเกมที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น คล้ายกับ Roblox
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Tencent ซึ่งเป็นทั้งผู้ให้บริการ ผู้พัฒนา และลงทุนในเกมดังมากมาย เช่น Honor of Kings, League of Legends, RoV และ PUBG
- แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง
เพลง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์หลักบน TikTok ที่ทำให้เกิดคลิปไวรัล และนำไปสู่การสร้าง Challenge ด้านการร้องและการเต้นมากมาย
ทำให้เมื่อปีที่แล้ว ByteDance ได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง ชื่อว่า Resso ซึ่งผสมผสานความเป็นโซเชียลเข้าไป โดยสมาชิกสามารถแชร์หรือโพสต์คุยกันเกี่ยวกับเพลงได้
นอกจากนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มโซเชียลในรูปแบบเสียง คล้ายกับ Clubhouse อีกด้วย
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Tencent ซึ่งมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงถึง 800 ล้านบัญชี อย่างแอปพลิเคชันสตรีมมิงเพลง JOOX ที่นิยมในไทย ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Tencent ด้วย
- แอปพลิเคชันแช็ต
เมื่อมีคลิปไวรัลเกิดขึ้นบน TikTok สิ่งที่ผู้คนมักจะทำถัดมา คือ การแช็ตเรื่องดังกล่าวกับเพื่อน
ด้วยเหตุนี้ ByteDance จึงพัฒนาแอปพลิเคชันแช็ต ชื่อว่า Duoshan และ Flipchat ขึ้นมา โดยมุ่งเน้นฟีเชอร์แบบวิดีโอแช็ต และสามารถตั้งห้องคุยเรื่องน่าสนใจในโลกออนไลน์ได้
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ในจีน ก็ยังคงเป็น Tencent ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันแช็ตชื่อดังอย่าง WeChat ที่มีผู้ใช้งานประจำ สูงถึง 1,225 ล้านบัญชีต่อเดือน
ซึ่งไม่นานมานี้ เรื่องแอปพลิเคชันแช็ต กำลังเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างทั้งสองบริษัทด้วย โดย TikTok ได้ยื่นฟ้อง Tencent ในกรณีที่จำกัดไม่ให้ผู้ใช้งาน Douyin แชร์คอนเทนต์ไปยัง WeChat
- ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ในปัจจุบัน รูปแบบการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่มาแรง ก็คือ Social Commerce ที่การรีวิวหรือโฆษณาสินค้าบนโซเชียลมีเดียโดย Influencer เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
จึงทำให้ ByteDance เพิ่มฟีเชอร์ในแอปพลิเคชัน TikTok ให้คนที่ชมคลิป สามารถกดปุ่มเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ และสั่งซื้อสินค้าที่สนใจได้ในทันที
นอกจากนั้น บริษัทยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของตัวเอง ชื่อว่า Zhidian และ Xincao รวมทั้งเปิดให้บริการ Douyin Pay ซึ่งเป็น e-Wallet สำหรับชำระเงินค่าสินค้าอีกด้วย
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Alibaba เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Taobao, Tmall, Lazada รวมไปถึงบริการชำระเงินยอดนิยมอย่าง Alipay
- บริการเซิร์ชเอนจิน
โดยปกติ คนเล่น TikTok มักจะมีการค้นหาวิดีโอที่อยากดู หรือหาคอนเทนต์ตัวอย่างมาใช้สร้างสรรค์คลิป
ซึ่ง ByteDance ก็พยายามต่อยอด ด้วยการพัฒนาระบบเซิร์ชเอนจินภายในแอปพลิเคชัน ให้เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ทั่วไป เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น
คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ ก็คงเป็น Baidu ซึ่งครองตลาดเซิร์ชเอนจินในประเทศจีน สัดส่วนกว่า 75%
จากเรื่องราวนี้ ทุกคนคงพอเห็นภาพแล้วว่า
ByteDance มีการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน TikTok ในหลากหลายด้าน
ซึ่งก็น่าติดตามต่อว่า จิกซอว์แต่ละชิ้น จะทำให้ Ecosystem ของบริษัทแข็งแกร่งขึ้น และแข่งขันกับเจ้าตลาดเดิมอย่าง Tencent, Alibaba และ Baidu ได้สูสีมากน้อยเพียงใด
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้ อาจจะไม่มีบริษัทไหน อยากทำตัวโดดเด่นมากจนเกินไป
เพราะตัวละครสำคัญของเรื่องนี้ อย่าง “รัฐบาลจีน” กำลังเข้ามากำกับธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้บริษัทยักษ์ใหญ่มีอำนาจผูกขาดตลาด
ซึ่งตัวละครสำคัญตัวนี้ คงเป็นคู่ต่อสู้ ที่ไม่มีใครกล้าท้าชนด้วยเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cbinsights.com/research/report/bytedance-tiktok-unicorn/
-https://www.statista.com/statistics/272014/global-social-networks-ranked-by-number-of-users/
-https://www.cnbc.com/2021/03/23/bytedance-takes-on-tencent-with-major-gaming-studio-acquisition.html
-https://kr-asia.com/bytedance-acquires-c4-games-challenging-tencent-overseas
-https://www.marketthink.co/13339
-https://www.marketthink.co/13010
-https://www.cnbc.com/2021/06/17/chinas-bytedance-tiktok-owner-saw-revenue-surge-111percent-in-2020.html
รายได้ revenue 在 เสกสรร ปั้น Youtube Youtube 的最佳解答
http://www.sekyoutube.com สอนวิธีการหารายได้กับ Youtube ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนสามารถทำเงินได้จริง
ข้อที่ 1 Create advertiser-friendly content
หมายความว่า ในวีดีโอของเราทุกๆส่วน ตั้งแต่รูปภาพ เสียงเพลง วีดีโอ และในบางกรณีอาจจะรวมแคสเกมส์ต่างๆ จะต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
ข้อที่ 2 Respect the community
หมายความว่า เนื้อหาในวีดีโอต้องไม่สื่อถึงความรุนแรง ความอนาจาร อาวุธ ยา เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ การต่อต้านบุคคลหรือองค์กร การแฮ็กระบบ และสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ
ข้อที่ 3 คือ ห้ามคลิกโฆษณาตัวเองหรือขอให้คนอื่นช่วยคลิก ซึ่งอาจจะโดนแบน adsense account ได้
===========================================
เสกสรร ปั้น Youtube
ครูสอนการทำวีดีโอด้วยตัวเองลง Youtube
เพื่อสร้างแบรนด์หรือโปรโมทสินค้าและบริการ
สอนถ่ายวีดีโอ
http://xn--l3cdl7ac1a7b0al6ab0nxc.com
สอน After Effect
http://www.effectvideo.com
♥♥ SUBSCRIBE ♥♥
http://www.youtube.com/subscription_center?add_user=smileprovideo
♥♥ Let's Connect ♥♥
Facebook - http://www.Facebook.com/sekyoutube
===========================================

รายได้ revenue 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最讚貼文
รายการเด็กบัญชีวาไรตี้ ตอนที่ 4 : บัญชี 5 หมวด (ENG) วันที่ 22 มิถุนายน 2555
วันนี้ครูพี่อัส และ ครูพี่น้ำ สอนเกี่ยวกับ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ บัญชี 5 หมวด English Version
1.สินทรัพย์ = Assets
2. หนี้สิน = Liability
3.ทุน = Owner Equity
4.รายได้ = Revenue
5.ค่าใช้จ่าย = Expenses
***********************************************************************************
ติดตามรายการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ติดต่อสนใจลงทะเบียนได้ที่ : 084-103-0099 , 086-5459909
เว็บไซต์เด็กบัญชี : http://www.dekbunchee.com
e-learning บัญชี เรียนบัญชีออนไลน์: http://www.dekbuncheeclub.com
Facebook : http://www.facebook.com/Dekbuncheetutor
ขอบคุณที่ติดตามชมรายการเด็กบัญชีวาไรตี้
by P ' อัส
***********************************************************************************

รายได้ revenue 在 4 วิธีสร้างรายได้ (Passive Income) รอรับเงินทุกเดือนแบบไม่ต้อง ... 的推薦與評價

Passive Income คือการสร้าง รายได้ หรือกระแสเงินสดที่มาจากการลงมือทำในช่วงแรก แต่ได้ผลระยะยาว และสม่ำเสมอ แน่นอนว่าในยุคนี้ใครๆก็อยากมี Passive Income ... ... <看更多>
รายได้ revenue 在 Your content & YouTube Premium 的推薦與評價
Shorts: Accept the Shorts Feed Monetization Module. How is revenue figured out? Revenue from YouTube Premium membership fees is distributed to video creators ... ... <看更多>
รายได้ revenue 在 มีรายได้เท่าไหร่... - กรมสรรพากร : The Revenue Department 的推薦與評價
มีรายได้เท่าไหร่ ควรจด VAT ? หรือไม่ต้องจด VAT ? ต้องจด VAT เมื่อไหร่ ? จด VAT ดีอย่างไร ? หาคำตอบได้ที่ www.taxliteracy.academy. ... <看更多>