ปรากฏการณ์ Tidal Locking ของดวงจันทร์ของโลก และ Tidal Heating ในดวงจันทร์ไอโอ (Io)
หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยอยู่แล้ว กับ "แรงไทดัล" หรือแรงน้ำขึ้นน้ำลง (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [1]) ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยชาวประมงในการออกเรือ สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า[3] เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบนิเวศริมทะเลแล้ว แต่ในยามวิกฤตเรายังสามารถนำไปใช้ในการช่วยกู้เรือเดินสมุทรที่ติดคลองสุเอซ ทำให้การขนส่งทางเรือเป็นอัมพาตได้อีกด้วย[2]
ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากแรงไทดัลอีกสองอย่าง นั่นก็คือ Tidal Locking และ Tidal Heating
- Tidal Locking
เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักคุ้นเคยกับภาพดวงจันทร์ทางด้านซ้ายมือในภาพบนกันเป็นอย่างดี แต่มีใครเคยเห็นหน้าตาดวงจันทร์อย่างภาพขวามือบ้าง? ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์โลกนั้นเคยมีมนุษย์เพียง 24 คน ภายใต้โครงการอพอลโลเพียงเท่านั้นที่เคยเห็นพื้นผิวเหล่านี้ด้วยตาของพวกเขาเอง เพราะนี่คือพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ซึ่งไม่เคยเผยโฉมให้กับผู้สังเกตบนโลก
ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากว่า ดวงจันทร์ของโลกนั้น มีคาบการโคจรรอบโลก และคาบการหมุนรอบตัวเองเท่ากันพอดี จึงหันด้านเดิมมาหาโลกเสมอ เราจึงสามารถแบ่งด้านของดวงจันทร์ออกเป็นด้านใกล้ และด้านไกล หรือบางทีเราอาจจะเรียกว่า "ด้านมืด" ในลักษณะที่เป็นด้านที่เราไม่รู้จัก (แต่ไม่ควรสับสนกับด้านที่อยู่ในเงามืด เพราะด้านที่อยู่ในเงามืดนั้นเปลี่ยนได้ตามเฟสของดวงจันทร์)
แล้วเพราะเหตุใดดวงจันทร์จึงหันด้านเดียวมาหาโลกเสมอ? เพราะเหตุใดคาบการโคจรและหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์จึงเท่ากันพอดิบพอดี? นี่เป็นความบังเอิญหรือไม่? วัตถุอื่นในระบบสุริยะมีการ sync คาบการโคจรกับคาบกันหมุนรอบตัวเองเช่นดวงจันทร์ของโลกหรือไม่?
คำตอบทั้งหมดนี้ ตอบได้ด้วยปรากฏการณ์ Tidal Locking
ปรากฏการณ์ Tidal Locking เกิดขึ้นเมื่อวัตถุมีวงโคจรที่ใกล้เพียงพอกับศูนย์กลางการโคจร ก่อนที่มันจะเย็นตัวลง จากความรู้เรื่องแรงไทดัล[1] เราจะพบว่าแรงไทดัลจะมีมาก เมื่ออยู่ใกล้แหล่งที่ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วง และนอกจากนี้แรงไทดัลจะมีผลมากกว่ากับสสารที่เป็นของเหลว ดังนั้นแรงไทดัลจึงมีผลมากกว่า กับวัตถุที่เป็นของเหลวที่โคจรอยู่ใกล้ ซึ่งนั่นคือสภาพที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ของโลกในช่วงที่เพิ่งจะก่อกำเนิดขึ้นมา
ในช่วงแรกนั้น ดวงจันทร์ของโลกประกอบไปด้วยแมกม่าเหลวที่ยังไม่เย็นตัวพอ และมีวงโคจรที่ใกล้กว่านี้เป็นอย่างมาก มนุษย์โลกเราอาจจะมองว่าแรงไทดัลนั้นเป็นแรงที่ดวงจันทร์กระทำกับโลก แต่ในขณะเดียวกันโลกก็มีแรงไทดัลส่งไปยังดวงจันทร์เช่นกัน และด้วยมวลของโลกที่มากกว่าดวงจันทร์กว่า 81 เท่า จึงทำให้แรงไทดัลที่โลกกระทำต่อดวงจันทร์มีมากกว่าถึง 81 เท่าเช่นกัน (เนื่องจากระยะห่างเท่ากันทั้งสองกรณี) แรงไทดัลอันมหาศาลที่โลกกระทำต่อดวงจันทร์ในยุคโบราณนี้ จึงทำให้แมกม่าเหลวภายในดวงจันทร์มีการถ่ายโอนไป มากองอยู่ในด้านที่อยู่ใกล้กับโลก ทุกวันนี้เรายังสามารถเห็นหลักฐานของปรากฏการณ์นี้ได้จากบริเวณของ Mare (มาเร่) บนดวงจันทร์ ที่เป็นบริเวณผิวเรียบสีเข้มที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเลลาวาที่ผุดขึ้นมาเต็มไปทั่วหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันหากเราสังเกตเห็นด้านไกลของดวงจันทร์เราจะพบว่าแทบไม่มี Mare ปรากฏให้เห็นเลย
เมื่อลาวาเหลวบนดวงจันทร์เย็นตัวลง ดวงจันทร์ที่มีมวลโย้มาฝั่งเดียวนี้ จึงเปรียบได้กับตุ๊กตาล้มลุก ที่มีด้านที่หนักอยู่ด้านหนึ่ง และเมื่อแรงไทดัลกระทำกับดวงจันทร์นี้ จึงมีการส่ายไปมา คล้ายกับตุ๊กตาล้มลุกที่พยายามจะชี้ด้านที่เบาออกห่างจากโลกอยู่เสมอ
กระบวนการน้ำขึ้นน้ำลงนั้น เป็นกระบวนการที่สูญเสียพลังงาน เมื่อคลื่นที่เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลงเสียดสีกับพื้นมหาสมุทร จะทำให้โลกหมุนช้าลง (ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราต้องปรับนาฬิกาให้ช้าลงกันเป็นประจำ อ่านเพิ่มได้ที่[4]) หลักฐานทางฟอสซิลบ่งชี้ว่า เมื่อนานมาแล้วหนึ่งปีบนโลกมีได้ถึง 400 กว่าวัน และแรงไทดัลนั่นเองที่ทำให้โลกค่อยๆ หมุนช้าลง และในขณะเดียวกัน ด้วยกฏอนุรักษ์โมเมนตัม การหมุนช้าลงของโลกนี้ก็จะทำให้วงโคจรของดวงจันทร์ ค่อยๆ ถอยห่างออกไป พร้อมกับทำให้วงโคจรของดวงจันทร์มีความรีที่น้อยลง จนดวงจันทร์เกิดการ "ล๊อค" หันด้านที่หนักกว่ามาหาโลก กลายมาเป็นดวงจันทร์ที่หันด้านเดิมมาหาดวงอาทิตย์เสมอ เช่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ เราจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Tidal Locking"
ซึ่งปรากฏการณ์ Tidal Locking นี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะดวงจันทร์ของโลกเพียงเท่านั้น แต่เราพบว่าดวงจันทร์หลายๆ ดวงของดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีที่อยู่ใกล้ดาวแม่พอ ก็มีการหันด้านเดียวหาดาวเคราะห์เช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือดวงจันทร์ Iapetus ที่มีครึ่งหนึ่งเป็นสีขาว อีกครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ โดย Iapetus จะหันด้านสีดำ ไปในทิศทางการโคจรเสมอ นอกจากนี้ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะบางดวงที่โคจรใกล้ดาวฤกษ์เพียงพอ ก็อาจจะเกิดกระบวนการ Tidal Locking ได้เช่นกัน ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงอาจจะมีอุณหภูมิพื้นผิว หรือ "ฤดูกาล" ที่แตกต่างกันตามด้านที่หันออกจากดาวฤกษ์ และหนึ่งในด้านเหล่านั้นอาจจะเอื้ออำนวยต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตก็เป็นได้
- Tidal Heating
ผลอีกอย่างหนึ่งที่ตามมาจากแรงไทดัล และกระบวนการ Tidal Locking ก็คือปรากฏการณ์ Tidal Heating ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดในดวงจันทร์ไอโอ (Io) ของดาวพฤหัสบดี (ภาพซ้ายล่าง)
นอกจากโลกของเราแล้ว ดวงจันทร์ไอโอเป็นเพียงวัตถุเดียวในระบบสุริยะที่มีภูเขาไฟที่พ่นลาวาออกมาได้ แต่ในขณะที่แมกม่าในโลกของเรานั้นได้รับแหล่งพลังงานความร้อนหลักมาจากการแผ่รังสีของสารกัมมันตรังสีภายในโลก แหล่งกำเนิดพลังงานหลักที่ทำให้ดวงจันทร์ไอโอนั้นคุกกรุ่นไปด้วยภูเขาไฟทั่วทั้งดวงนั้น กลับมาจากแรงไทดัล
เราอธิบายความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ได้ง่ายๆ โดยเปรียบเทียบกับการ "นวดดินน้ำมัน"
ลองจินตนาการดูว่าเราเพิ่งแกะดินน้ำมันห่อใหม่ออกมาจากห่อ ก่อนที่เราจะเอาไปปั้นเป็นรูปอะไรได้นั้น เราจะต้องนวดดินน้ำมันให้ "อุ่น" เสียก่อน เราจะทำให้ดินอุ่นโดยการ "นวด" ได้อย่างไร เราจะพบว่าสิ่งที่เราต้องทำนั้น มีเพียงแค่การ "บีบ" ดินน้ำมัน ในทิศทางที่ต่างๆ กันออกไป ในที่สุดดินก็จะอุ่นขึ้นมาเอง
จากในบทความที่อธิบายเรื่องแรงไทดัล เราสามารถเปรียบแรงไทดัลได้กับการ "บีบ" ของเหลวภายในดาวให้โป่งออก ดังนั้นเราจึงได้ปัจจัยแรกในการเปรียบเปรยการนวดดินน้ำมันของเราไปแล้ว อย่างไรก็ตาม นอกจากแรงบีบแล้วนั้น เราต้องการแรงบีบที่สามารถเปลี่ยนทิศทางไปได้ จึงจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น แต่เนื่องจากดวงจันทร์ไอโอนั้นเกิด Tidal Lock ไปแล้ว จึงหันด้านเดิมมาหาดาวพฤหัสบดีเสมอ แรงไทดัลจึงกระทำต่อดวงจันทร์ในทิศทางเดิมเสมอ กลไกนี้เพียงกลไกเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความร้อนขึ้น เช่นเดียวกับการยืนบีบดินน้ำมันเอาไว้นิ่งๆ ย่อมจะไม่ทำให้ดินน้ำมันนั้นเกิดความอุ่นขึ้นมาได้แต่อย่างใด
แต่ในขณะเดียวกันนั้น ดวงจันทร์ไอโอนั้นกลับมีสิ่งที่เรียกว่า Orbital Resonance กับดวงจันทร์กาลิเลียนอีกสองดวง นั่นก็คือ Europa และ Ganymede โดยมีอัตราส่วนคาบเป็น 1:2:4 กล่าวคือ ทุกๆ หนึ่งรอบการโคจรของดวงจันทร์แกนิมีด ดวงจันทร์ยูโรปาจะโคจรไปสองรอบ และดวงจันทร์ไอโอจะโคจรไปสี่รอบ Orbital Resonance ในลักษณะนี้ จะทำให้ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ตรงกัน จะเกิดขึ้นในตำแหน่งเดิมของวงโคจรเสมอ (เช่น ซ้าย-ขวา ดังภาพประกอบด้านขวาล่าง) แม้ว่าแรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์สองดวงนั้นจะมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับแรงโน้มถ่วงจากดาวพฤหัส แต่แรงโน้มถ่วงที่ดึงในทิศทางเดิมเสมอ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า จะค่อยๆ ยืดวงโคจรของดวงจันทร์ไอโอออกจนกลายเป็นวงรีในที่สุด (ในแนวซ้าย-ขวา ในกรณีตามภาพนี้)
โดยปรกติแล้วแรงไทดัลนั้นจะค่อยๆ ทำให้วงโคจรใดๆ ที่มีความรี ค่อยๆ กลายเป็นวงกลมไปในที่สุด แต่ในกรณีของดวงจันทร์ไอโอที่อยู่ใน Orbital Resonance กับดวงจันทร์อีกสองดวงนี้นั้น แรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ทั้งสองจะทำให้วงโคจรของดวงจันทร์ไอโอยังสามารถคงความรีเอาไว้ได้ไปตลอดไป ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในกระบวนการเกิด Tidal Heating
เนื่องจากถึงแม้ว่า Tidal Locking จะบังคับให้คาบการโคจรของไอโอ มีค่าเท่ากับคาบในการหมุนพอดิบพอดี แต่ Tidal Locking นั้นไม่สามารถควบคุมอัตราเร็วในการโคจรได้ เมื่อไอโอมีวงโคจรเป็นวงรี นั่นหมายความว่าในบางช่วงไอโอจะมีอัตราเร็วในการโคจรที่เร็วกว่าปรกติ และในบางช่วงก็ช้ากว่าปรกติ ในขณะที่อัตราหมุนของวัตถุใดๆ นั้นจะคงที่เสมอ ทำให้ในบางครั้งไอโอก็มีอัตราหมุน "แซง" อัตราเร็วโคจรไป และในช่วงที่เหลือก็มีอัตราหมุน "ช้ากว่า" สลับกันไป
ผลของอันตรกิริยาอันซับซ้อนเหล่านี้ ก็ทำให้ดวงจันทร์ไอโอมีการ "ส่าย" ไปมา คล้ายกับตุ๊กตาล้มลุกที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง แต่เนื่องจากแรงไทดัลนั้นออกแรง "บีบ" ในทิศทางที่ชี้ไปหาดาวพฤหัสบดีเสมอ ทำให้แรงบีบที่เกิดจากแรงไทดัลนั้นมีการเปลี่ยนตำแหน่งอยู่เสมอในรอบการโคจร เมื่อเรามีทั้งแรงบีบ และกลไกในการเปลี่ยนทิศทางของแรงบีบ แรงไทดัลอันมหาศาลจากดาวพฤหัสจึงส่งแรง "นวด" ภายในของดาวไอโออย่างไม่หยุดหย่อน พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จึงสะสมอยู่ในรูปของความร้อน ทำให้ภายในดาวไอโอกลายเป็นแมกม่าเหลวที่ร้อนระอุ และพร้อมที่จะปุออกมาอยู่ตลอดเวลา กลายมาเป็นดวงจันทร์ภูเขาไฟเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่เรารู้จัก
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386/1561313990745468/
[2] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386/1560520504158150/
[3] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/1238742689669268
[4] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/364803483729864
「มาเร่」的推薦目錄:
- 關於มาเร่ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳貼文
- 關於มาเร่ 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的精選貼文
- 關於มาเร่ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳解答
- 關於มาเร่ 在 Mera Mare Pattaya - Home | Facebook 的評價
- 關於มาเร่ 在 ที่พักสุดไฮโซ โก้เก๋ “เมร่า มาเร่” l HIGHLIGHT พ่อลูกสุดฤทธิ์ 27 มี.ค ... 的評價
- 關於มาเร่ 在 รีวิว โรงแรม MERA MARE PATTAYA ( เมร่า มาเร่ พัทยา ) - YouTube 的評價
- 關於มาเร่ 在 ลัดเลาะ เวทรี่ ซูล มาเร่ เมืองหลวงจานกระเบื้องและเครื่องเซรามิก แห่ง ... 的評價
มาเร่ 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的精選貼文
คาเฟ่ริมทะเล #เกาะล้าน ชลบุรี สดใสโดนใจเวอร์~ 🍹
ยืนหนึ่งหาดตาแหวน เสิร์ฟขนมอาหารซีฟู้ดสดมว้าก🦑
ใครซัมเมอร์นี้ไปเกาะล้านรับรองยืนหนึ่งแน่นอนนน 🌞
.
🏖 รีวิวคาเฟ่ใหม่ Mare Beachbar&Restaurant ร้านอาหารและคาเฟ่ตั้งอยู่บนหาดตาแหวน เด่นสะดุดตาด้วยสไตล์การตกแต่งสีสันสดใสเวอร์! เบาะและร่มเป็นสีส้มแสด ร้อนแรงรับซัมเมอร์นี้สุด ๆ บรรยากาศชิลมากก แถมเขามีเซิร์ฟเป็นพร็อพให้เลือกไว้ถ่ายรูป มุมใดใด Set ไว้ ปังไม่ไหวว!! 💥
.
🦐 อาหารและเครื่องดื่มก็จัดหนักจัดเต็ม ประทับใจแอดที่สุด ที่นี่เขาเสิร์ฟ ซีฟู้ด สด ใหม่ และใหญ่ม๊ากกก! หรือจะเป็นเครื่องดื่ม เขาก็มีเมนู ‘ มาเร่ ซิกเนเจอร์ ’ ไว้ต้อนรับ รสชาติเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ดื่มแล้วชื่นจายยย
.
🌊 นั่งรับลมริมทะเลที่ตอนนี้น้ำใสมากกก หาดทรายขาวสะอาด นักท่องเที่ยวน้อยสุดดด วิวดี ๆ คู่กับคาเฟ่ชิล ๆ ไม่มีอะไรสบายใจไปกว่านี้อีกแล้ว แบบนี้ชาวเราจะพลาดได้ยังไงคะทุกคนนน ซัมเมอร์นี้ต้องเกาะล้านเท่านั้นจ้าา แถมพี่เจ้าของเป็นกันเองที่สุดด น่ารักมาก ดูแลเทคแคร์ดีเวอร์ 😍
.
📍 หนีเที่ยวได้ที่ : หาดตาแหวน เกาะล้าน อ.บางละมุง ชลบุรี
เปิดเวลา 10.00 น. - 21.00 น.
🖤 FB : MARE Beachbar & Restaurant Kohlarn🖤
.
เขียนรีวิว : สหายสายเสมอ
ภาพถ่าย : บี๊บี๋
.
#MARE #มาเร่ #MAREBEACHBARRESTAURANT #Kohlarn #คาเฟ่เกาะล้าน #เกาะล้าน #sneakout #หนีเที่ยว #sneakoutthailand #คนหนีเที่ยว #ออกไปค้นหาสิ่งใหม่ #ชมรมคนหนีเที่ยว #เที่ยวมุมมองใหม่ไปกับSneakOut #เที่ยวโดนใจทุกไลฟ์สไตล์ #เที่ยวตามได้ไม่มีOut #เพจท่องเที่ยวสุดปัง #พัทยามาได้แล้ว #พัทยา #Pattaya
มาเร่ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳解答
ด้าน "ไกล" ของดวงจันทร์
ภาพของวัตถุที่ดูไม่ค่อยคุ้นตานี้ แท้จริงแล้วเป็นวัตถุที่เราคุ้นเคยยิ่งนัก นั่นก็คือ "ดวงจันทร์" ของเรานั่นเอง
ปรกติแล้วดวงจันทร์ของเราจะหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอด นั่นหมายความว่าไม่ว่าเราจะมองดวงจันทร์ในเวลาไหน เราก็สามารถสังเกตเห็น "กระต่าย" บนดวงจันทร์ตลอด เราสังเกตเห็นหลุมอุกกาบาตเดิมๆ บริเวณ "มาเร่" (Mare) ที่มีสีเข้มเช่นเดิม ไม่ว่าดวงจันทร์จะหมุนและโคจรไปอย่างไรก็ตาม
ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่า คาบในการหมุนของดวงจันทร์นั้นมีค่าเท่ากับคาบในการโคจรรอบโลกอย่างพอดิบพอดี การที่คาบทั้งสองนี้มีค่าเท่ากันไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลจากกระบวนการของแรงไทดัล (แรงที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง) ที่เรียกว่า tidal locking เนื่องจากสมัยที่ดวงจันทร์ยังมีความหลอมเหลว ส่วนที่อยู่ใกล้โลกนั้นจะได้รับแรงโน้มถ่วงมากกว่า ส่งผลทำให้มวลส่วนมากของดวงจันทร์ถูกดึงโย้มาทางโลก ดวงจันทร์จึงมีลักษณะคล้ายกับตุ๊กตาล้มลุกที่หันด้านที่หนักเข้าหาโลกเสมอ จนกลายมาเป็นดวงจันทร์ของโลกที่หันด้านเดียวมาหาเราเสมอที่เรารู้จัก
นอกจากดวงจันทร์ของโลกแล้ว ดาวบริวารดวงใกล้ๆ ดวงพฤหัสบดีและดาวเสาร์ก็มีการแสดงปรากฏการณ์ tidal locking และชี้ด้านเดิมเข้าหาดาวเคราะห์เสมอเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใดอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์เพียงพอ ก็เป็นไปได้ที่จะมีการล๊อคหันด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์เสมอ ดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์นั้นก็จะอยู่บริเวณเดิมบนท้องฟ้าเสมอ ไม่มีการขึ้นตก หนึ่งวันจะยาวเท่ากับหนึ่งปี เป็นที่น่าสนใจว่าหากมีสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการขึ้นมาบนสภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะมีการปรับตัวเช่นไร
จากปรากฏการณ์ tidal locking ของดวงจันทร์นี้เอง ที่ทำให้ดวงจันทร์หันด้านเดิมมาหาโลกเสมอ นี่ทำให้ด้าน "ไกล" ของดวงจันทร์นั้นไม่เคยปรากฏให้ผู้สังเกตบนโลกเลย นอกเสียจากการออกไปจากนอกโลกและเลยวงโคจรของดวงจันทร์ออกไป จนทำให้ไม่เคยมีใครรู้จักว่าด้านไกลของดวงจันทร์นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร จนกระทั่งปี 1959 ที่ยานสำรวจของโซเวียตได้บันทึกภาพด้านไกลของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เราจึงได้เคยเห็นว่าด้านไกลของดวงจันทร์มีสภาพเช่นใด
ด้วยความที่ด้าน "ไกล" ของดวงจันทร์เป็นปริศนาที่หลบซ่อนมนุษยชาติมาตลอด ในบางครั้งจึงมีคนเรียกว่าเปรียบเสมือนด้าน "มืด" ในเชิงที่ว่าเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้จัก แต่การเรียกเช่นนี้ในหลายๆ ครั้งทำให้คนเกิดความสับสนว่าด้าน "มืด" ของดวงจันทร์จะต้องเป็นด้านที่แสงสว่างไปไม่ถึง และอยู่ในรัตติกาลชั่วนิรันด์ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วทั้งด้าน "ใกล้" และด้าน "ไกล" ของดวงจันทร์ก็ได้รับแสงอาทิตย์เท่าๆ กัน ในบางครั้งก็เกิดความเข้าใจผิดเกินเลยไปว่าด้านมืดๆ ที่มองไม่เห็นของจันทร์เสี้ยวนั้นเองที่เรียกว่าด้านมืดของดวงจันทร์ ทั้งที่ความจริงแล้วแม้กระทั่งในจันทร์เสี้ยวด้านสีดำๆ ก็ยังคงเป็นด้านใกล้โลก
ก่อนหน้าที่เราจะเคยได้เห็นภาพถ่ายด้านไกลของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก มีการคาดการณ์กันว่าด้านไกลของดวงจันทร์คงจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างอะไรกันมากกับด้านใกล้ของดวงจันทร์ แต่เมื่อเราได้เห็นภาพของด้านไกลของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เรากลับพบว่าด้านใกล้และด้านไกลนั้นมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในขณะที่ด้านใกล้นั้นเต็มไปด้วยส่วนของ Mare สีดำ ที่เรียบเปรียบกับท้องทะเล ด้านไกลของดวงจันทร์นั้นเต็มไปด้วยภูมิประเทศที่ไม่ราบเรียบ ภูเขาสูงที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าด้านไกลของดวงจันทร์นั้นพบกับอุกกาบาตที่เข้ามาชนโลกมากกว่า และเมื่อครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วด้านใกล้ของดวงจันทร์มีการเอ่อล้นของลาวาจากภายในดวงจันทร์จนทำให้เกิดเป็นบริเวณของ Mare สีเข้มที่เราเห็น
ภาพที่เห็นนี้ เป็นภาพถ่ายโดยนักบินอวกาศในโครงการอพอลโล 16 ที่แสดงให้เห็นถึงบางส่วนของด้านไกลของดวงจันทร์ ในบริเวณด้านบนขวานั้นจะยังปรากฏให้เห็นส่วนสีเข้มที่เป็น Mare ที่อยู่ในด้านใกล้ของดวงจันทร์ ซึ่งมีความแตกต่างจากพื้นผิวที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อในด้านล่างซ้ายเป็นอย่างมาก
สังเกตว่า แม้กระทั่งใน "ด้านไกล" ของดวงจันทร์นั้น ก็ยังมีทั้งส่วนที่ "มืด" และส่วนที่ "สว่าง" ปะปนกันไป เช่นเดียวกับ "ด้านใกล้" ของดวงจันทร์ที่เราคุ้นเคย ขึ้นอยู่กับเฟสของดวงจันทร์และทิศของดวงอาทิตย์
ด้วยความที่ด้านไกลของดวงจันทร์นั้นหันหนีออกจากโลกเสมอ การติดต่อสื่อสารกับพื้นโลกจึงไม่สามารถเป็นไปได้โดยตรง แต่ต้องทำผ่านดาวเทียมที่คอยส่งสัญญาณกลับมายังโลก ด้วยความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นมานี้จึงยังไม่เคยมีนักบินอวกาศคนใดที่ไปเหยียบในด้านไกลของดวงจันทร์ และนักบินอวกาศในโครงการอพอลโลทุกคนต่างก็ทำการลงจอดในด้านใกล้ของดวงจันทร์ทั้งนั้น
จนกระทั่งในวันที่ 3 มกราคม 2019 ที่ผ่านมานี่เอง ยานสำรวจอวกาศไร้คนขับฉางเอ๋อ 4 (Chang'e 4) ของจีน ได้เป็นยานสำรวจลำแรกของมนุษย์ที่ได้ทำการลงจอดบนด้านไกลของดวงจันทร์ พร้อมกับส่งภาพพื้นผิวกลับมายังพื้นโลก
ภาพ: โครงการอพอลโล 16
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://spacenews.com/change-4-makes-historic-first-landing-on-the-far-side-of-the-moon/
[2] https://www.space.com/42887-china-moon-far-side-landing-photos-chang-e-4.html
มาเร่ 在 ที่พักสุดไฮโซ โก้เก๋ “เมร่า มาเร่” l HIGHLIGHT พ่อลูกสุดฤทธิ์ 27 มี.ค ... 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
รีวิว mera mare pattaya ที่พักติดชายหาดพัทยา ... PapPaiNai. PapPaiNai ... 4.2K views 1 year ago ... ... <看更多>
มาเร่ 在 รีวิว โรงแรม MERA MARE PATTAYA ( เมร่า มาเร่ พัทยา ) - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
ถ้าจะหาที่พักพัทยาให้ตอบโจทย์ทั้งติดทะเล วิวดี ห้องพักสวย แต่ราคาไม่แพงมาก ที่นี่ Mera Mare Pattaya (เมร่า มาเร่ พัทยา) ... ... <看更多>
มาเร่ 在 Mera Mare Pattaya - Home | Facebook 的推薦與評價
ที่พักสุดเก๋ ติดทะเล แค่เดินข้ามถนนถึงทะเลเลย เมร่ามาเร่ที่พักที่อยากให้ทุกคนลองมาพักสักครั้ง มีห้องพักหลาย Type… More ... ... <看更多>