สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
同時也有83部Youtube影片,追蹤數超過3萬的網紅永田カヲル,也在其Youtube影片中提到,◇チャンネル登録はこちら http://bit.ly/1DPjPyg ◇2ndチャンネル https://www.youtube.com/channel/UCUuZIs4i9ND9ggvKQPwdVzA ◇永田カヲルのTwitter https://twitter.com/Naga...
motorola twitter 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Kevin Mitnick แฮกเกอร์ที่ FBI เคยต้องการตัวมากที่สุด /โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 30 กว่าปีก่อน มีบุคคลหนึ่งที่ FBI ไล่ตามจับกุมอย่างแทบเป็นแทบตาย
จนเขาถูกขึ้นบัญชีเป็นอาชญากรที่ทางการของสหรัฐอเมริกาต้องการตัวมากที่สุด
เขาคนนั้น คือ Kevin Mitnick แฮกเกอร์ที่สร้างวีรกรรมไว้มากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้วยการแฮกบริษัทระดับชาติและหน่วยงานรัฐรวมแล้วทั้งหมด 40 กว่าแห่ง
แต่ในเวลาต่อมา เขาคนนี้กลับได้กลายเป็นคนสำคัญในการพัฒนาวงการ Cyber Security
หรือความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ที่บริษัทระดับชาติและหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ยอมรับกัน
เรื่องราวของ Kevin Mitnick น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Kevin Mitnick เกิดเมื่อปี 1963 ที่แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้วยความที่เขาเติบโตท่ามกลางยุคโทรศัพท์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
สิ่งเหล่านี้จึงช่วยหล่อหลอมให้เขามีความหลงใหลและมีทักษะด้านเทคโนโลยีตั้งแต่วัยเด็ก
แต่สิ่งที่ Mitnick แตกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีนั้น ก็คือเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ใช้งานเท่านั้น แต่เขามักพยายามหาผลประโยชน์จากช่องโหว่จากระบบต่าง ๆ อยู่เสมอ
ในวัย 12 ปี Mitnick เริ่มฉายแววการเป็นแฮกเกอร์ครั้งแรก เริ่มต้นจากการโกงตั๋วโดยสารรถเมล์
เมื่อก่อน รถเมล์ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้ตั๋วแบบเจาะรู
ดังนั้นหากใครมีเครื่องเจาะตั๋วไว้อยู่กับตัว เท่ากับว่าสามารถปั๊มตั๋วเมื่อไรก็ได้
Mitnick จึงไปหลอกถามคนขับรถเมล์ว่าหาซื้อเครื่องเจาะตั๋วแบบเดียวกันนี้ ได้ที่ไหนบ้าง
โดยเขาหลอกว่าจะนำไปใช้สำหรับโปรเจกต์ของโรงเรียน
คนขับรถเมล์จึงได้แนะนำว่าให้เขาไปค้นหาแถวถังขยะใกล้ ๆ สถานีรถบัส
ซึ่งเขาพบว่ามีเครื่องเจาะตั๋วอยู่จริง ทำให้ Mitnick สามารถขึ้นรถเมล์ฟรีได้สักพักหนึ่ง
โดยพฤติกรรมแบบนี้ เรียกว่า “Social Engineering” แปลเป็นไทยว่า วิศวกรรมสังคม
ซึ่งถือเป็นศาสตร์หนึ่งของแฮกเกอร์ ที่หลอกลวงผู้คนให้เปิดเผยข้อมูลของตนเองออกมา
โดยใช้หลักจิตวิทยา เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ตัวเองต้องการ
ซึ่งรูปแบบการหลอกมีตั้งแต่ โทรสอบถาม หรือส่ง SMS ที่มีลิงก์ปลอมมาให้กดผ่านทางโซเชียลต่าง ๆ และบางครั้งอาจมาในรูปแบบที่ไม่ได้เจาะจงถามถึงข้อมูลที่ต้องการโดยตรง
ยกตัวอย่าง หากแฮกเกอร์ต้องการรหัสผ่านบัญชีของเรา
เขาจะไม่ถามตรง ๆ ว่า รหัสผ่านของเรานั้น คืออะไร
แต่จะถามสิ่งรอบตัวที่เราสามารถนำไปสร้างเป็นรหัสผ่านได้
เช่น ชื่อแฟน ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือวันเดือนปีเกิด
หลังจากได้ข้อมูลเสร็จ แฮกเกอร์ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาให้คอมพิวเตอร์ทำการสับเปลี่ยนไปมา
เพื่อให้ได้รหัสผ่าน ทำให้การหลีกเลี่ยงจาก Social Engineering ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก
และจากความสำเร็จในการขึ้นรถเมล์ฟรีครั้งนี้ ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ปลูกฝังให้ Mitnick มีความคิดและพฤติกรรมรูปแบบนี้มาโดยตลอด
ส่งผลให้เวลาต่อมา เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี เขาก็ได้เข้าสู่วงการแฮกเกอร์อย่างเต็มตัว
โดยเหยื่อที่ทำให้เขาเริ่มถูกพูดถึงก็คือ บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC
ที่เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำในสมัยนั้น
Mitnick ทำเช่นเดียวกับการโกงรถเมล์ คือใช้วิธี Social Engineering โดยปลอมตัวเป็นพนักงานของบริษัทแห่งนี้ แล้วหลอกผู้ดูแลระบบของบริษัท ให้ทำการรีเซตรหัสผ่านใหม่
ทำให้ Mitnick สามารถเจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ DEC
และคัดลอกซอฟต์แวร์ของบริษัทออกมา
แม้ว่าจุดประสงค์การแฮกครั้งนี้เพียงเพื่อพิสูจน์ว่า ตัวเองมีความสามารถเท่านั้น
ไม่ได้มีเรื่องผลประโยชน์ทางการเงินหรือสร้างความเสียหายต่อบริษัทแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นอาชญากรรม
Mitnick จึงถูกตัดสินจำคุก 1 ปี และถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้การดูแลอีก 3 ปี
แต่แทนที่จะเจ็บแล้วจำ เขากลับเริ่มแฮกบริษัทอื่นอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ยังถูกควบคุมอยู่
และต่อมา เขาก็ได้หลบหนีทันที หลังจากถูกปล่อยตัว
อย่างไรก็ตามคราวนี้ Mitnick วางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเขาได้ทำการดัดแปลงระบบโทรศัพท์ของตัวเองคือ Motorola MicroTAC ให้สามารถซ่อนตำแหน่งของตัวเองไว้ได้
แต่การดัดแปลงระบบโทรศัพท์ใช่ว่าอยู่ ๆ ใครจะสามารถเข้าไปทำได้ เพราะคนที่ทำได้จำเป็นต้องมี Source Code ของโทรศัพท์รุ่นนั้นเสียก่อน
เขาจึงต้องทำการโจรกรรมข้อมูลครั้งใหญ่อีกรอบ ซึ่งเป้าหมายในครั้งนี้
คือบริษัท “Motorola” หนึ่งในผู้นำบริษัทโทรศัพท์ในขณะนั้น
Mitnick เริ่มต้นแผนการด้วยการโทรไปหาฝ่าย Call Center ของบริษัท
โดยแสร้งทำเป็นว่ามีธุระสำคัญ จำเป็นต้องขอคุยกับ Project Manager
หลังจากโอนสายไปมาถึง 9 ครั้ง ในที่สุดเขาก็ได้เบอร์ติดต่อของ Project Manager
แต่เมื่อเขาโทรไปตามเบอร์ที่ได้รับ กลับพบวอยซ์เมลตอบกลับมาว่า Project Manager หญิงคนนี้กำลังพักร้อนอยู่ ซึ่งโชคดีที่เธอฝากข้อความต่อว่าหากมีธุระด่วนให้ติดต่อ Aleesha ซึ่งเป็นเลขาฯ ตามเบอร์ที่ระบุไว้
Mitnick จึงได้โทรหาเลขาฯ สาวในทันที โดยจากการพูดคุยไปมาในแต่ละแผนกถึง 8 สาย ทำให้เขามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับบริษัท ส่งผลให้เขาสามารถพูดคุยกับ Aleesha ได้อย่างลื่นไหลไม่ต่างอะไรไปจากพนักงานประจำของบริษัท
หลังจากทักทายแบบหอมปากหอมคอเป็นที่เรียบร้อย Mitnick ก็เข้าสู่ประเด็น
Mitnick แจ้งว่าก่อนที่ Project Manager จะไปพักร้อน เธอบอกว่าจะส่ง Source Code โทรศัพท์มาให้กับเขา แต่ดูเหมือนว่าเธอจะลืม Mitnick จึงทาบทามให้ Aleesha ช่วยส่งมาให้แทนได้หรือไม่
ด้วยความที่เธอเป็นเลขาฯ ที่ใสซื่อ ก็ตอบตกลงและทำตามคำสั่งของเขาโดยไม่ได้แคลงใจ
แต่ต่อมามีปัญหาเพราะว่า Source Code ที่จะส่งให้ไปนั้นมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป
Mitnick จึงแก้ปัญหาด้วยการลงมือสอนวิธีบีบอัดไฟล์ให้แก่เลขาฯ
ซึ่ง Aleesha ทำตามคำแนะนำเป๊ะ ๆ จนสามารถรวบรวมไฟล์ทั้งหมดได้เป็นไฟล์เดียว
แต่แล้วก็เกิดปัญหาอีกครั้ง เมื่อพบว่าการส่งไฟล์เกิดล้มเหลวขึ้นมา
เธอเลยไปตาม Security Manager มาช่วยดูว่าเกิดปัญหาตรงไหน
พอถึงจุดนี้ Mitnick เริ่มกังวลใจแล้วว่า ตัวเองอาจจะโดนจับได้แล้ว
เขาจึงพยายามคิดว่าตัวเองได้ทิ้งหลักฐานอะไรไว้บ้าง
แต่ในระหว่างที่เขากำลังคิด
Aleesha ก็กลับมาพูดสายอีกครั้งและได้ชี้แจงว่าปัญหาเกิดจาก IP ของผู้รับไฟล์ซึ่งก็คือของ Mitnick ไม่ใช่ของคนในองค์กรจึงไม่สามารถรับไฟล์ได้ และบอกอีกด้วยว่า ไม่เป็นไร เธอหาวิธีส่งแบบอื่นให้ได้แล้ว
ในที่สุด Mitnick จึงได้ Source Code มาครอบครองและสามารถดัดแปลงโทรศัพท์ได้สำเร็จ
จากรายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ Mitnick หลบหนี
เขาได้ทำการแฮกบริษัทไปมากกว่า 40 แห่ง ทั้งบริษัทใหญ่และหน่วยงานรัฐ
ในไม่ช้า เขากลายเป็นที่รู้จักในนาม “The Condor” และ “The Darkside Hacker”
จนติดอันดับแฮกเกอร์ที่ทางการของสหรัฐอเมริกาหมายหัวและต้องการตัวมากที่สุดในขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ FBI ร่วมมือกับ Tsutomu Shimomura สุดยอดไวต์แฮต หรือแฮกเกอร์สายขาว ช่วยกันตามไล่ล่า Mitnick เป็นระยะเวลายาวนานถึง 2 ปีครึ่ง
ในที่สุด ในปี 1995 พวกเขาก็จับกุม Mitnick ได้สำเร็จ ณ อะพาร์ตเมนต์ของเขาเอง
Mitnick ถูกตั้งข้อหาหลายคดี
ตั้งแต่การใช้ประโยชน์จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจรกรรมข้อมูล
การสกัดกั้นการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาต
รวมถึงทำให้คอมพิวเตอร์เสียหาย
Mitnick ยอมรับเพียงบางคดีเท่านั้น และเขาได้ถูกศาลตัดสินโทษจำคุกเป็นระยะเวลา 5 ปี 8 เดือน
แต่การที่เขาถูกตัดสินโทษนี้ ก็ได้ทำให้ชุมชนชาวแฮกเกอร์ต่างตกใจ
เพราะพวกเขาเห็นว่าบทลงโทษที่ Mitnick ได้รับเป็นบทลงโทษที่เกินกว่าเหตุ
แฮกเกอร์และเหล่าแฟนคลับของเขา จึงมารวมตัวกันประท้วงตามท้องถนน
รวมถึงได้แฮกเว็บไซต์ Yahoo เพื่อแสดงข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัว Mitnick ออกมา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ช่วยให้ Mitnick ถูกลดโทษแต่อย่างใด
และเขาต้องจำคุกเต็มเวลาเช่นเดิม
จนกระทั่งเดือนมกราคม ปี 2000 Mitnick ได้รับการปล่อยตัว
แต่เขาก็ยังถูกห้ามไม่ให้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใด ๆ
เว้นแต่โทรศัพท์ธรรมดาที่สามารถทำได้เพียงแค่โทรเข้า-ออกเท่านั้น
รวมถึงถูกห้ามแสวงหาผลกำไรจากภาพยนตร์หรือหนังสือ
ที่สร้างจากเรื่องราวของเขา เป็นระยะเวลายาวนานถึง 7 ปีอีกด้วย
จากเรื่องนี้จึงทำให้เขายังคงต่อสู้กับคำตัดสินเรื่องการห้ามใช้เทคโนโลยีสื่อสารต่อไป
จนสุดท้าย เขาสามารถชนะคดี และกลับมาใช้อินเทอร์เน็ตได้ดังเดิมอีกครั้ง
จากคดีต่าง ๆ ที่ Mitnick เคยทำไว้ ส่งผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องออกกฎหมายใหม่เพื่อจัดการกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงสร้างความตระหนักแก่ผู้คนเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี
ปัจจุบัน Mitnick ได้กลับตัวกลายเป็นไวต์แฮต ที่คอยช่วยเหลือป้องกันการโจมตีจากโลกไซเบอร์และเขายังได้เขียนหนังสือทั้งหมด 4 เล่ม เพื่อตีแผ่กลโกงของเหล่าแฮกเกอร์ ประกอบด้วย
Ghost in the Wires เรื่องราวการเป็นแฮกเกอร์ของเขา
The Art of Intrusion ศิลปะแห่งการเจาะระบบ
The Art of Deception ศิลปะแห่งการหลอกลวง
The Art of Invisibility ศิลปะแห่งการล่องหน
รวมถึงก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Mitnick Security Consulting” ซึ่งทำธุรกิจให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย บริการทดสอบเจาะระบบและสอนวิชา Social Engineering แก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ
โดยกลุ่มลูกค้าของเขาก็มีตั้งแต่บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 หรือกลุ่มบริษัทที่มีรายได้สูงสุด 500 อันดับแรกของโลก ไปจนถึง FBI หน่วยงานที่เคยจับกุมเขาก็มาเป็นลูกค้าของเขาอีกด้วย
ซึ่งจากการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาของ Mitnick ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทั้งบริษัทเอกชนและภาครัฐต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันแฮกเกอร์ได้นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://cobalt.io/blog/top-ten-famous-hackers
-https://www.knowbe4.com/products/who-is-kevin-mitnick/
-https://www.mitnicksecurity.com/about-kevin-mitnick-mitnick-security
-https://www.britannica.com/topic/cybercrime/Hacking#ref829231
-https://www.thefamouspeople.com/profiles/kevin-mitnick-37791.php
-https://medium.com/@caden/social-engineering-an-unpatchable-flaw-f262775c2553
-https://stem.in.th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5-kevin-mitnick-%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A2-source-code-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-motorola/
-https://www.mitnicksecurity.com/in-the-news/kevin-mitnick-genius-and-one-of-the-most-famous-hackers-in-history
-https://www.investopedia.com/terms/w/wirefraud.asp
-https://www.cyfence.com/article/what-is-social-engineering/
motorola twitter 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
motorola twitter 在 永田カヲル Youtube 的最讚貼文
◇チャンネル登録はこちら
http://bit.ly/1DPjPyg
◇2ndチャンネル
https://www.youtube.com/channel/UCUuZIs4i9ND9ggvKQPwdVzA
◇永田カヲルのTwitter
https://twitter.com/Nagata_Kaoru
◇ほしい物リスト
http://amzn.asia/igDmKtF
◇ガジェット譲ってるところ
https://fril.jp/shop/67b60bb87e3da9a58f50a5fe5f60322a
==========
あたくし永田カヲルが、ガジェット動画だしていきやす! ということでヨロシク!
#Motorola

motorola twitter 在 永田カヲル Youtube 的精選貼文
◆Samsung Galaxy Z Fold 3
https://www.galaxymobile.jp/galaxy-z-fold3-5g/
◇チャンネル登録はこちら
http://bit.ly/1DPjPyg
◇2ndチャンネル
https://www.youtube.com/channel/UCUuZIs4i9ND9ggvKQPwdVzA
◇永田カヲルのTwitter
https://twitter.com/Nagata_Kaoru
◇ほしい物リスト
http://amzn.asia/igDmKtF
◇ガジェット譲ってるところ
https://fril.jp/shop/67b60bb87e3da9a58f50a5fe5f60322a
==========
あたくし永田カヲルが、ガジェット動画だしていきやす! ということでヨロシク!
#Samsung #Galaxy

motorola twitter 在 すまっぴーチャンネル Youtube 的最佳解答
2021年月28日にMotorola(モトローラ)から発売されたSIMフリースマホ
「moto g100」10日間使ってみたのでレビューします。
結論。良い。
◯Motorola公式オンラインショップ
https://store.motorola.co.jp/
【関連動画】
◯moto g100開封レビュー!
https://youtu.be/6qVzuRQfQns
─────────────────────────────────────
【すまっぴーのサービス一覧】
●スマホ比較のすまっぴー
https://smappy-if.com/
●中古スマホ販売のすまっぴー
https://store.smappy-if.com/
●すまっぴーのスマホ高額買取
https://store.smappy-if.com/kaitori/iphone
●すまっぴーのモバイル保険
https://smappy-if.com/phones/insurance
チャンネル登録よろしくお願いします → http://www.youtube.com/channel/UCGeTXNdOY7StvUTB0qcnsQQ?sub_confirmation=1
─────────────────────────────────────
●すまっぴーチャンネルの公式Twitter
https://twitter.com/smappy_channel
※DMでの質問や依頼は↑のアカウントへご連絡ください。
●すまっぴーの公式Twitter
https://twitter.com/smappy_jp
●わーけんの個人Twitter
https://twitter.com/sakeiba
#SIMフリースマホ #モトローラ #g100 #すまっぴー #格安SIM #MVNO
